พระสงฆ์กับการส่งเสริมประชาธิปไตยหรือทำลายความเป็นกลาง

ผู้แต่ง

  • ชูชาติ สุทธะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

พระสงฆ์กับประชาธิปไตย, การส่งเสริมประชาธิปไตย, การทำลายความเป็นกลาง

บทคัดย่อ

          พระสงฆ์ คือ สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงในการเลือก และไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่จากการศึกษาพระธรรมวินัย พระจริยาวัตรของพระพุทธองค์ และการมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ทางการเมืองของพระสงฆ์ในอดีต พอจะประมวลหลักการแสดงเสรีภาพทางการเมืองของพระสงฆ์ ดังนี้ 1. พระสงฆ์มีเสรีภาพที่จะแสดงออกทางการเมืองได้ เพราะพระธรรมวินัยไม่ได้ห้ามเอาไว้ 2. การแสดงออกทางการเมืองนี้ไม่รวมถึงการแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วม หรือเกี่ยวข้องทางใดทางหนึ่งในเรื่องการศึกสงคราม 3. การแสดงออกทางการเมืองของพระสงฆ์ควรแสดงออกเท่าที่จำเป็นภายใต้ขอบเขตของพระธรรมวินัย 4. การที่พระสงฆ์นิ่งเฉยต่อเหตุการณ์ที่ควรออกมาคัดค้าน หรือไม่สนับสนุนสิ่งที่ถูกต้องดีงามถือว่า เป็นสิ่งที่ควรตำหนิได้ หากอยู่ในวิสัยที่จะสามารถทำได้ 5. การแสดงออกทางการเมืองของพระสงฆ์ต้องยึดหลักการที่ว่า “เพื่อประโยชน์และความสุขของคนเป็นจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ จะประกาศพรหมจรรย์อันมีความงามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด” โดยการดำรงตนเป็นกลางต่อทุกฝ่าย ยึดธรรมะ คือ ความถูกต้องดีงามเป็นที่ตั้ง

          พระสงฆ์กับการเมืองจึงควรเกี่ยวเนื่องกันในภาวะที่เหมาะสม จึงจะทำให้พระสงฆ์สามารถบำเพ็ญสมณธรรมได้สะดวกโดยมุ่งหมายที่เสรีภาพทางใจเป็นสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันพระสงฆ์ก็ยังสามารถบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมได้ด้วย ดังนั้น เพื่อความเป็นกลางและรักษาความยุติธรรม พระสงฆ์จึงต้องอยู่เหนือการเมือง ไม่ควรยุ่งกับการเมือง เมื่อใดพระสงฆ์ยุ่งกับการเมือง เมื่อนั้นความตรงกันข้ามก็จะบังเกิดขึ้นในพระสงฆ์ทันที 

References

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2548). พระพุทธศาสนากับคึกฤทธิ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า.

จำนง ทองประเสริฐ. (2520). พระพุทธศาสนากับสังคมและการเมือง. กรุงเทพมหานคร: แพร่วิทยา.

เฉลิมพล โสมอินทร์. (2546). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและการปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สูตรไพศาล.

เทพ สุนทรศารทูล. (2531). พระเล่นการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประยูรวงศ์ จำกัด.

เบญจา มังคละพฤกษ์. (2552). พระกับการเมือง หลวงตามหาบัวกับทักษิณ. นนทบุรี : สำนักพิมพ์บ้านหนังสือ.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2533). ปรัชญาแห่งอุดมการณ์ทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. ( (2534). ความคิดทางการเมืองในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. ( (2540). ทรรศนะทางการเมืองของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สามัคคีสาส์น.

พรรค National Heritage Party (JHU). สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2559, จาก http://www.amarasara.info/ jhu-news/

พระไพศาล วิสาโล. (2552). พุทธศาสนาไทยในอนาคตแนวโน้มทางจากวิกฤต, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พิพัฒน์ พสุธารชาติ. (2545). รัฐกับศาสนาบทความว่าด้วยอาณาจักณ ศาสนจักร และเสรีภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 1, 2, 5, 7, 10. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วินัย พงศ์ศรีเพียร และวีรวัลย์ งามสันติกุล. (2549). พระพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์กับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.

สมิทธิพล เนตรนิมิต, ผศ.ดร. (2553). ภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ในอริยวินัย: วิถีชีวิตและบทบาทของพระสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุขุม นวลสกุล. (2516). ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30