คุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมืองในสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • คนอง วังฝายแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

คุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมือง, สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน, นักการเมือง

บทคัดย่อ

          บทความนี้กล่าวถึงการหลักคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมือง ซึ่งได้นำทฤษฎีทางตะวันตกมาอธิบาย คือ แนวคิดของเพียเจท์และโคลเบิร์ก เพียเจท์ได้กล่าวถึงจริยธรรมใน 3 ขั้น คือ 1) ขั้นก่อนมีจริยธรรม 2) ขั้นเริ่มมีจริยธรรม และ  3) ขั้นมีจริยธรรม ขณะที่โคลเบิร์กกล่าวถึงจริยธรรมว่ามี 3 ระดับ แต่ละระดับมี 2 ขั้น รวมเป็น 6 ขั้น คือ ระดับแรกก่อนเกณฑ์ แบ่งเป็น 1) ขั้นหลักเลี่ยงโทษ และ 2) ขั้นแสวงหารางวัล ระดับที่สองตามกฎเกณฑ์ แบ่งเป็น 3) ขั้นทำตามที่คนอื่นเห็นว่าดี และ 4) ขั้นทำตามหน้าที่ และระดับที่สามระดับเหนือกฎเกณฎ์ แบ่งเป็น 5) ขั้นทำตามคำมั่นสัญญา และ 6) ขั้นอุดมคติสากล นอกจากนี้ ยังได้ยกหลักธรรมในการบริหารตามพระพุทธศาสนามาแสดง คือเรื่องการประพฤติเป็นธรรม และประพฤติตามธรรม ซึ่งเป็นเหมือนตัวแทนของคุณธรรมและจริยธรรมทางตะวันออกที่ว่าด้วยหลักการทางศาสนา ทฤษฎีและหลักธรรมเหล่านี้ได้หลอมรวมปรากฏในเป็นหลักธรรมาภิบาลอันเป็นแนวปฏิบัติสำหรับนักการเมืองปัจจุบันที่ต้องยึดถือปฏิบัติตาม เพื่อความเจริญงอกงามในด้านการบริหารบ้านเมืองและพัฒนาศักยภาพตนเองในเรื่องคุณธรรม สำหรับการเปรียบเทียบหลักการบริหารปกครองบ้านเมืองทางพระพุทธศาสนากับตะวันตกพบว่า มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ 1) การบริหารปกครองที่เป็นลักษณะแนวตั้งกับแนวระนาบ 2) แนวคิดเรื่องมนุษย์มีเมล็ดพันธ์แห่งความดีงาม 3) การรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และ 4) การลดอำนาจหรือการสั่งการลง

References

กีรติ บุญเจือ. (2538). จริยศาสตร์สำหรับผู้เริ่มเรียน, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2545). พจนานุกรมไทย ฉบับใหม่. กรุงเทพมหานคร: รวมสาส์น.

บุญมี แท่นแก้ว. (2541). จริยธรรมกับชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). ธรรมนูญชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2525, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

ลำดวน ศรีมณี, พ.ต.ท. (ม.ป.ป.). จริยธรรมและจริยศาสตร์ตะวันออก. กรุงเทพมหานคร: ดวงแก้ว.

สถิต วงศ์สวรรค์. (2529). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร: บำรุงสาส์น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30