บุคลิกภาพของครูและลักษณะการสอนที่ดี
คำสำคัญ:
บุคลิกภาพที่ดี, บุคลิกภาพครู, ลักษณะการสอนที่ดีบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งเน้นถึงบุคลิกภาพและลักษณะการสอนของครูที่ดี บุคลิกภาพถือเป็นพฤติกรรมเฉพาะของคนแต่ละคน ซึ่งมีความแตกต่างกันทางด้านกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา กล่าวเฉพาะบุคลิกภาพของครู
จากผลการวิเคราะห์พบว่า 1) ด้านกาย เช่น ครูต้องแต่งตัวให้เหมาะสม กิริยามารยาทการวางตัว การใช้คำพูด อิริยาบถต่าง ๆ ต้องเรียบร้อย 2) ด้านอารมณ์ เช่น การรู้จักควบคุมอารมณ์ได้ดี มีวุฒิภาวะสูง การมีอารมณ์ขัน ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา มีความขยัน เอื้อเฟื้อ 3) ด้านสังคม เช่น การเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ การปรับตัว 4) ด้านสติปัญญา เช่น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การมีไหวพริบ การช่างสังเกต รวมถึงการรู้จักประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ส่วนลักษณะการสอนที่ดี ผลการวิเคราะห์พบว่า สามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) การเตรียมตัวสอน ครูต้องรู้จักวิเคราะห์หลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนการสอน รวมถึงความพร้อมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน 2) การสอน ครูต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอนให้รู้จักในขั้นปฏิบัติการจริง เชื่อมโยงเนื้อหาเก่ง ตอบสนองความต้องการเรียนของผู้เรียน เป็นต้น ครูที่พึงประสงค์จึงต้องพัฒนาปรับปรุงตัวเองตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกภาพภายนอกและภายใน รวมถึงลักษณะการสอนที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์ในสังคมปัจจุบัน
References
ฉันทนิช อัศวนนท์. (ม.ป.ป.). การพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สิ่งเสริมวิชาการ.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สถิต วงศ์สวรรค์, รศ. (2544). การพัฒนาบุคลิกภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: รวมสาส์น (1977).
สุชา จันทน์เอม. (2544). จิตวิทยาทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hilgard, Ernest R. (1962). Introduction to Psychology, 3rded. New York: Marcourt, Brace & World Inc.
Sanford F. H. & Wrightman, L. S. (1970). Psychology, 3rded. Belmont: Wadsworth Publishing Company.
Schneider, B. M. (1990). Managing Organization Behavior. New York: John Wiley & Sons.