กระบวนการสร้างและการสื่อสารองค์ความรู้ท้องถิ่นพะเยาของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺญมหาเถร)

ผู้แต่ง

  • ชัยวัฒน์ จันธิมา สถาบันปวงผญาพยาว
  • พระครูศรีวรพินิจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺญมหาเถร), องค์ความรู้ท้องถิ่น, พะเยา

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ท้องถิ่นพะเยา กระบวนการสร้างและการพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่นพะเยา รวมทั้งกระบวนการสื่อสารองค์ความรู้ท้องถิ่นพะเยาของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺญมหาเถร) ไปสู่สาธารณะ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และการเสวนาทางวิชาการ

          ผลการวิจัยพบว่า ผลงานที่เป็นองค์ความรู้ท้องถิ่นพะเยาของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ได้แก่ ผลงานจากการปริวรรต ผลงานจากการประพันธ์ ผลงานจากการประพันธ์และปริวรรตในเล่มเดียวกัน และผลงานจากการเรียบเรียงร่วมกับผู้อื่น โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น พระพุทธศาสนา วรรณกรรม ตำนานท้องถิ่น การปกครองคณะสงฆ์ และศิลปวัฒนธรรมล้านนา  กระบวนการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่น เริ่มจากการสืบค้น การแสวงหาองค์ความรู้ท้องถิ่นโดยเก็บรวบรวมวัตถุโบราณจากวัดที่ไม่มีการดูแลวัตถุโบราณ การปริวรรตเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่ในศิลปวัตถุเป็นภาษาไทยกลาง การค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำนาน พงศาวดาร บันทึก และจากนักวิชาการ นำมาสู่การเรียบเรียงและประมวลเป็นองค์ความรู้ท้องถิ่นพะเยา ในการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น ท่านได้จัดการข้อมูลด้วยตนเองก่อน หลังจากนั้นได้ให้ลูกศิษย์จัดพิมพ์เอกสารต้นฉบับ และจัดพิมพ์เป็นหนังสือเผยแพร่ อีกด้านได้จัดตั้งหอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ เพื่อเป็นสถานที่แสดงวัตถุโบราณ ในด้านกระบวนการสื่อสารองค์ความรู้ท้องถิ่น ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้โดยเล่าเรื่องให้ลูกศิษย์ การสอดแทรกไปกับการแสดงธรรม และการบรรยายให้ความรู้ตามสถานที่ต่าง ๆ อีกด้านหนึ่งมีกลุ่มองค์กรในจังหวัดพะเยา นำเอาองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไปใช้เป็นต้นแบบในการทำงาน การพัฒนาให้เป็นกิจกรรมใหม่ และจัดตั้งเป็นสถาบันวิชาการท้องถิ่น    

References

เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ. (2552). จารึกที่ค้นพบใหม่ในเมืองพะเยา. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.

ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ บรรณาธิการ. (2555). คน-ของ-ท้องถิ่น: เรื่องเล่าของสยามใหม่จากมุมมองของชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วาย ซี เอช มีเดีย.

ชัยวัฒน์ จันธิมา และศิริวรรณ มะโนวงค์. (2543). ปราชญ์เมืองผยาว: ลมหายใจแห่งชีวิตและองค์ความรู้ของปราชญ์ท้องถิ่นและศิลปินพื้นบ้านจังหวัดพะเยา. พะเยา: โรงพิมพ์เจริญอักษร.

พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม). (2554). พระอุบาลีคุณูปมาจารย์: ผญาแห่งเมืองพะเยา. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.

พระเทพวิสุทธิเวที. (2546). ค่าวฮ่ำครูบาศรีวิชัย และน้ำท่วมเมืองพะเยา. เชียงใหม่: ธาราทองการพิมพ์.

พระเทพวิสุทธิเวที. (2531). ประวัติศาสตร์เมืองพะเยายุคหลัง. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์ทรงสิทธิวรรณ จำกัด.

พระเทพวิสุทธิเวที. (2533). ประวัติวัดศรีโคมคำ พระเจ้าตนหลวง และพระพุทธบาท. กรุงเทพมหานคร: พิฆเณศ พริ้นตริ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด.

พระธรรมวิมลโมลี. (มปป.). เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จประพาสเชียงราย-พะเยา. เชียงราย: หจก. เชียงรายไพศาลการพิมพ์.

พระธรรมวิมลโมลี. (2542). ประวัติกว๊านพะเยา. เชียงราย: หจก. เชียงรายไพศาลการพิมพ์.

พระธรรมวิมลโมลี. (2546). เมืองพะเยาจากตำนานและประวัติศาสตร์. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.

พระธรรมวิมลโมลี. (2553). ครบรอบ 100 ปี เหตุการณ์เงี้ยวก่อการจลาจลในมณฑลพายัพ พ.ศ. 2445. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.

พระราชวิสุทธิโสภณ, ศรีศักร วัลลิโภดม และพิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (2527). เมืองพะเยา. กรุงเทพมหานคร: พิฆเณศพริ้นตริ้งเซ้นเตอร์ จำกัด.

พระราชวิสุทธิโสภณ และศรีศักร วัลลิโภดม. (2538). ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเมืองพะเยา. กรุงเทพมหานคร: พิฆเณศ พริ้นตริ้ง เซ้นเตอร์ จำกัด.

สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ. (2538). ประชุมจารึกเมืองพะเยา. กรุงเทพมหานคร: พิศเณศ พริ้นท์ติ้งเซ็นเตอร์ จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30