ประเพณีปอยล้อของพระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ)

ผู้แต่ง

  • พระมหาวีรชน อคฺคธมฺโม (คำสอนพันธ์) วัดอนาลโยทิพยาราม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

ประเพณีปอยล้อ, ปอยล้อล้านนา, พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ)

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการจัดพิธีศพในพระพุทธศาสนา ประเพณีปอยล้อล้านนา และวิเคราะห์คุณค่าประเพณีปอยล้อของพระครูการุณยธรรมนิวาส การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาจากข้อมูลปฐมภูมิ คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา และข้อมูลทุติยภูมิ คือ บทความวิชาการ ตำรา โดยเฉพาะหนังสือประวัติพระครูการุณยธรรมนิวาส และหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูการุณยธรรมนิวาส นอกจากนี้ ยังเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างจากกลุ่มประชากรตัวอย่างที่ได้กำหนดไว้

          ผลการวิจัยพบว่า พิธีศพในพุทธศาสนาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) ในสมัยพุทธกาล 2) ในสังคมไทย พิธีศพในสมัยพุทธกาลมีทั้งการเผาและการทิ้งศพ โดยเฉพาะการจัดพิธีพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้าได้จัดตามรูปแบบของพระเจ้าจักรพรรดิ ส่วนพิธีศพในสังคมไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอินเดียสมัยพุทธกาล แม้ว่าในแต่ละท้องถิ่นอาจจะมีความแตกต่างบ้างในรายละเอียด สำหรับพิธีปอยล้อล้านนา คือ พิธีงานศพของพระสงฆ์ผู้เป็นพระมหาเถระ หรืองานปลงพระศพของเจ้านายชั้นสูงในล้านนา ในอดีตมีการสร้างปราสาทศพต่างบนหลังสัตว์ป่าหิมพานต์ แต่ปัจจุบันนิยมสร้างปราสาทต่างบนหลังนกหัสดีลิงค์ และจะมีการชักลากปราสาทศพไปสู่ที่เผาหรืออาจจัดตั้งเมรุชั่วคราวขึ้น ณ ที่ใดที่หนึ่ง โดยในพิธีปอยล้อจะมีปราสาทศพและเครื่องประกอบพิธีที่ละเอียดอ่อนมากกว่าศพของชาวบ้านทั่วไป และถือเป็นงานประเพณีที่มีการทำบุญอย่างยิ่งใหญ่ ในด้านคุณค่าของพิธีปอยล้อในล้านนา กรณีศึกษาพระครูการุณยธรรมนิวาส พบว่า พิธีปอยล้อได้ก่อให้เกิดคุณค่าด้านความสามัคคีของชุมชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และพิธีปอยในกรณีของพระครูการุณยธรรมนิวาส ถือว่าเป็นการจัดพิธีครั้งแรกสำหรับพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต นอกจากเป็นการประกาศคุณงามความดีของพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ได้รู้เข้าใจและภาคภูมิใจในพิธีกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา และร่วมกันอนุรักษ์สืบสานพิธีกรรมดังกล่าวให้คงอยู่คู่กับชาวล้านนาสืบไป

References

ชนิดา สถิตวงศ์. (2548). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูการุณยธรรมนิวาส. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต). (2532). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2537). พิธีกรรมใครว่าไม่สำคัญ, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พระมหาอาทิตย์ อาทิจฺโจ. (2553). หตฺถิลิงฺคสกุโณ ความเชื่อที่เชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนา. เชียงใหม่: วัดเจดีย์หลวง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 10. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส. (2536). พระปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมบรรณาการ.

สล่านิพล โกฏิแก้ว. (2554). ผู้ออกแบบและจัดสร้างนกหัสดีลิงค์. สัมภาษณ์. 15 กรกฎาคม.

สิงฆะ วรรณสัย. (2542). สืบสานล้านนา สืบต่อลมหายใจของแผ่นดิน. เชียงใหม่: ม.ป.ท.

สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). (2551). พระเมรุ ทำไม? มาจากไหน, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.

เสถียร โกเศศ. (2532). ความตาย, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: แม่คำผาง.

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระเทพญาณเมธี. (2553). ผาสารทล้านนา. ลำพูน: โรงพิมพ์บวรวรรณพริ้นท์.

อรรถ นันทจักร. (2515). รวมบทความว่าด้วยนกหัสดีลิงค์. เชียงใหม่: แสงศิลป์การพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30