ความอัศจรรย์ 8 ประการของพระธรรมวินัยและมหาสมุทร

ผู้แต่ง

  • ชูชาติ สุทธะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

ความอัศจรรย์ของพระธรรมวินัย, ความอัศจรรย์ของมหาสมุทร, อุปมาอุปไมยหลักธรรม

บทคัดย่อ

          หลักธรรมในพระพุทธศาสนามีความลึกซึ้งอย่างยิ่ง บางหลักธรรมมีความเกี่ยวกับทางโลกที่เรียกว่า โลกิยธรรม บางหลักธรรมเกี่ยวกับการหลุดพ้นเรียกว่า โลกุตรธรรม หลักธรรมทั้งสองลักษณะเน้นการพัฒนาทั้งด้านศรัทธาและปัญญาควบคู่กันอย่างถูกต้อง ซึ่งแสดงให้เห็นความงามของหลักธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าและเป็นความอัศจรรย์ทั้ง 8 ประการ ดังที่พระพุทธองค์เปรียบเทียบไว้ด้วยความอัศจรรย์ของมหาสมุทร ดังนี้

          1) มหาสมุทรมีสภาพต่ำ ลาดและลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที เหมือนพระธรรมวินัยที่มีการศึกษา บำเพ็ญและปฏิบัติไปตามลำดับ 2) มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง เหมือนสาวกที่ไม่ละเมิดสิกขาบทที่พระพุทธองค์เราบัญญัติไว้ 3) มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ เหมือนบุคคลที่ผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม สงฆ์ก็ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น 4) มหานทีทุกสายไหลลงมหาสมุทรแล้วทิ้งชื่อเดิมของแม่น้ำ เหมือนวรรณะ 4 คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วละชื่อและโคตรเดิมของตน 5) แม่น้ำทุกสายไหลรวมลงมหาสมุทร มหาสมุทรก็ไม่พร่องหรือเต็ม เหมือนภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ 6)  มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม เหมือนพระธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส 7) มหาสมุทรมีรัตนะมาก เหมือนพระธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากหลายชนิด และ 8) มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ใหญ่ เหมือนพระธรรมวินัยเป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ อริยบุคคล 8 จำพวก ฉะนั้น 

References

พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต). (2535). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 13, 23, 30, 31. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2508). วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2543). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล เล่ม 32, 37, 43. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-30