การทบทวนวรรณกรรมสำหรับการวิจัย
คำสำคัญ:
การทบทวนวรรณกรรม, สารสนเทศสำหรับการวิจัย, การสืบค้นข้อมูลเพื่อการวิจัยบทคัดย่อ
การทบทวนวรรณกรรมเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งสำหรับการวิจัย การทบทวนวรรณกรรมควรกระทำตั้งแต่การเริ่มต้นหาหัวข้อการวิจัย เพราะการทบทวนวรรณกรรมมีความเกี่ยวพันกับเนื้อหาทุกบทของการวิจัย ดังนั้น การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรมจึงเป็นสิ่งที่ขาดเสียมิได้ในการวิจัย บทความนี้นำเสนอประเด็นดังต่อไปนี้ ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรม แหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้ในการทบทวนวรรณกรรมซึ่งแบ่งออกเป็น 3 แหล่ง ได้แก่ แหล่งสารสนเทศตีพิมพ์ แหล่งสารสนเทศไม่ตีพิมพ์และแหล่งสารสนเทศอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ยังนำเสนอรูปแบบของการเขียนทบทวนวรรณกรรม ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการทบทวนวรรณกรรม ตลอดจนหลักเกณฑ์ในการพิจารณาวรรณกรรมสำหรับการวิจัย
References
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2556). เทคนิคการเขียนและผลิตตำรา, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยากร หวังมหาพร. (2557). วิจัยปรุงทำได้ไม่ยาก. กรุงเทพมหานคร: อินทภาษ.
พรพรรณ จันทร์แดง. (2557). ห้องสมุดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วรรณดี สุทธินรากร. (2556). การวิจัยเชิงคุณภาพการวิจัยในกระบวนทัศน์ทางเลือก, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์.
แววตา เตชาทวีวรรณ. (2559). การรู้สารสนเทศสำหรับการเรียบเรียงโครงงาน, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2556). สนุกกับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุนทรีภรณ์ ทองใส. (2555). การทบทวนวรรณกรรมและการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย. ใน การวิจัยทางการพยาบาล. ตรัง: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง.
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2555). วิทยาการวิจัยทางนิติศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.