การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: วิกฤตหรือโอกาสของวัดในล้านนา

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ (โยธิน ฐานิสฺสโร) วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, วิกฤตการท่องเที่ยว, โอกาสการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

          การท่องเที่ยวเป็นการเดินทางเพื่อพักผ่อนที่ให้ทั้งความเพลิดเพลินทางกายและความสงบทางจิตใจ นอกจากนี้ การท่องเที่ยวยังรวมถึงการเดินทางเพื่อประชุมสัมมนา การทัศนศึกษา การแข่งขันกีฬา การติดต่อธุรกิจและการเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง การท่องเที่ยวแบ่งได้ 2 ประเภทหลัก คือ 1) การท่องเที่ยวตามธรรมชาติ  2) การท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจัดเป็นการท่องเที่ยวประเภทที่สอง ซึ่งรวมการท่องเที่ยวภายในวัดเข้าด้วย การกระบวนการวางแผนและบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 หลักการ คือ 1) การกำหนดมาตรการและนโยบาย 2) กำหนดขอบเขตพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว 3) การดำเนินการวางแผน วางระบบการบริการจัดการตามข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติ 4) การวางระบบการอำนวยความสะดวกในการมาเยือนของนักท่องเที่ยว 5) การดำเนินการตามกลไกบริหารจัดการ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจะเป็นวิกฤตหรือโอกาสของวัด โดยเฉพาะวัดในล้านนาหรือไม่นั้น ก็ด้วยการดำเนินตามกิจกรรมทั้ง 7 ด้าน คือ 1) การศึกษาวิจัยหรือการสร้างความรู้ 2) การประเมินคุณค่าและศักยภาพของทรัพยากรทางโบราณคดี 3) การสงวนและการอนุรักษ์ 4) การดำเนินกิจกรรมธุรกิจชุมชนที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพยากรวัฒนธรรม  5) การเผยแพร่องค์ความรู้ ข้อมูล ประสบการณ์ให้แก่คนในชุมชน นอกชุมชนและสาธารณชนทั่วไป 6) การบังคับใช้กฎเกณฑ์ ข้อปฏิบัติ ข้อบัญญัติ และ 7) การฟื้นฟู ผลิตซ้ำและสร้างใหม่ หากวัดในล้านนาสามารถปฏิบัติได้ตามกิจกรรมดังกล่าวได้ชื่อว่า เป็นโอกาสในการยกระดับการท่องเที่ยวในวัด แต่หากปฏิบัติไม่ได้ก็จะกลายเป็นวิกฤตทันที

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558–2560. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2533). ความหมายและความสำคัญของการท่องเที่ยว. ใน การท่องเที่ยวหน่วยศึกษานิเทศ กรมการฝึกหัดครู. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

ชัชวาลย์ ธรรมสอน และคณะ. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวทางศิลปะและวัฒนธรรม ชุนชนเชียงทอง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก. กำแพงเพชร: สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2543). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว, พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ลานนาการพิมพ์.

มาฆะ ขิตตะสังคะ และคณะ. (2553). การศึกษาการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน. วิทยาลัยนานาชาติภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สถาบันวิจัยสังคม. (2538). เวทีผู้ถูกท่องเที่ยว. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมพร อิศวิลานนท์. (2538). เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลักและทฤษฏี. กรุงเทพมหานคร: โครงการวิจัยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สายันต์ ไพรชาญจิตร. (2548). กระบวนการโบราณคดีชุมชน: การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถของชุมชนท้องถิ่น ในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมใน จังหวัดน่าน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-30