ดนตรีในพระไตรปิฎกว่าด้วยการบำบัด บุญ และการบรรลุธรรม

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา ภูมะธน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ดิเรก ด้วงลอย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
  • พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ดนตรีในพระไตรปิฎก, การบำบัด, การบรรลุธรรม

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและกรณีศึกษาของดนตรี พร้อมผลจากการปฏิบัติในพระไตรปิฎก ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยและเรียบเรียงเป็นบทความวิชาการ

          ผลการศึกษาพบว่า ในพระไตรปิฎกมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเข้าถึงอุดมคติทางศาสนา ทั้งยังเป็นกลไกร่วมระหว่างศาสนา สังคมกับความเชื่อ ดนตรีมีความหมายเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง สมโภชสนุกสนาน ส่วนคัมภีร์พระไตรปิฎกดนตรีมองว่า เป็นอุปสรรค หากเกี่ยวข้องจะเป็นอาบัติตามวินัย ขวางกั้นการบรรลุธรรมหรือเป็นอุปสรรคต่อพรหมจรรย์ แต่ก็มีหลักฐานข้อมูลหลายแหล่งในพระไตรปิฎกที่ยืนยันว่า ดนตรีมีส่วนในทำบุญและมีอานิสงส์ คือ เกิดในสวรรค์ ได้บรรลุมรรคผล ดนตรีตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกจึงเป็นเครื่องประกอบการทำบุญ ดังนั้น ดนตรีที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา อาจตีความได้หลายนัย อาทิ เป็นดนตรีเพื่อการบำบัด ดนตรีเพื่อผลบุญผลทาน จนกระทั่งไปสู่มรรคผลขั้นสูง รวมทั้งดนตรีในฐานะเป็นเครื่องประโคมในวิถีความเชื่อและศาสนาดังปรากฏในบริบททางสังคมปัจจุบัน

References

กิตติภัทท์ ดงวัง และสุพจน์ ยุคลธรวงศ์. (2553). ดนตรีประกอบพิธีกรรมเข้าทรง (โจลมม็วด): กรณีศึกษาบ้านสองชั้น ตำบลสองชั้น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. 2 (1), 49-68.

ธนภัทร์ ไกรเทพ และสุพจน์ ยุคลธรวงศ์. (2555). กาหลอ ดนตรีในพิธีศพ: กรณีศึกษาคณะมีนากาหลอบ้านต้นส้มเหม้า ตำบลหนองช้างแล่น อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 19 (2), 130-144.

บรรจบ บรรณรุจิ. (5 ตุลาคม 2555). อสีติมหาสาวก: กลุ่มพระต่างแค้วน (ตอนที่ 94). สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2559, จาก https://mgronline.com/dhamma/detail/9550000121187

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 3, 4, 7, 8, 10, 15, 22, 28, 32, 33. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2543). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล เล่ม 13, 48. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มาศสุภา เพชรรักษ์. (2558). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของครูดนตรีไทยกับหลักคำสอนในศาสนาพุทธ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. 10 (33), 95-104.

เมธี พันธุ์วราทร. (2561). การศึกษาดนตรีประกอบพิธีกรรม: กรณีศึกษาวงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล จังหวัดเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 19 (2), 46-59.

สุรดิษ ภาคสุชล. (2553). ดนตรีในพิธีกรรมแซปางของชาวไทดำ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2 (1), 223-229.

สุรพงษ์ บุนนาค. (2548). ดนตรีแห่งชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สารคดี.

อสิมาภรณ์ มงคลหว้า. (2555). ดนตรีในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Charassri, Naraphong and Chandnasaro, Dharakorn. (2016). The Dance from Concept of Trilaksana in Buddhism. Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts Silpakorn University. 16 (1) (January - April), 35-54. Retrieved May 20, 2016, from https://www.tci-thaijo.org/index.php/hasss/ article/view/56802/47253

Pidokrajt, Narongchai. (2011). Wai Khru Ceremony: The Life and Soul of Thai Music. Rangsit Music Journal. 6 (2), 22-31.

Ungpho, Rewadee. (2010). Chinese Ceremonial Music in Mahayana Buddhism in Southern Thailand. Dissertation. Philosophischen Fakulät der Martin-Luther-Universität Halle-Wittenberg. Retrieved May 10, 2016, from: https://d-nb.info/1025133870/34

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-31