การดูแลสุขภาพของแรงงานข้ามชาติผู้ชายสัญชาติพม่า: กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • เดโช แขน้ำแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพ, ผู้ชายสัญชาติพม่า, แรงงานข้ามชาติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลสุขภาพของแรงงานข้ามชาติผู้ชายสัญชาติพม่า รวมถึงสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดูแลสุขภาพของแรงงานข้ามชาติผู้ชายสัญชาติ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากแรงงานข้ามชาติผู้ชายสัญชาติพม่า จำนวน 227 คน วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า เพื่อนแรงงานคนไทย ผู้ประกอบการ/นายจ้างและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ รวมทั้งสิ้น 21 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา

          ผลการวิจัย พบว่า แรงงานข้ามชาติผู้ชายสัญชาติพม่าส่วนใหญ่อายุ 36-45 ปี การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี แรงงานทักษะไร้ฝีมือ ประสบการณ์การทำงานในประเทศไทยน้อยกว่า 10 ปี รายได้ต่อเดือน 5,001-10,000 บาท และมีสถานภาพโสด การดูแลสุขภาพของแรงงานข้ามชาติผู้ชายสัญชาติพม่าโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=3.39; SD=0.67) ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับช่วงอายุ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.63; SD=1.10) รองลงมา คือ การได้รับการดูแลและการรักษาพยาบาลอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.61; SD=1.16) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีการต่าง ๆ ระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=3.21; SD=0.98) สำหรับสภาพปัญหา คือ มีพื้นที่จำกัดและขาดอุปกรณ์ในออกกำลังกาย/เล่นกีฬา เมื่อป่วยซื้อยามากินเอง เพราะกลัวเสียเงินและไม่อยากเดินทางไปโรงพยาบาล ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพเพราะไม่มีภาษาพม่า เครียดแล้วดื่มสุรา ส่งเสียงดังและทะเลาะวิวาท แนวทางการพัฒนา คือ ออกกำลังกาย/เล่นกีฬาให้เหมาะสมกับวัยในพื้นที่โล่ง เมื่อเจ็บป่วยควรไปหาหมอรักษาตามสิทธิประกันสังคมและปรึกษาเรื่องสุขภาพจากหมอโดยสื่อหลากหลายภาษา ผ่อนคลายความเครียดโดยการดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ และไหว้พระสวดมนต์ ส่วนการดื่มสุราควรลดลงให้เหลือเพียงเพื่อการเจริญอาหารเท่านั้น

References

กิตติยา ฝ้ายเจริญ และคณะ. (2562). การศึกษาปัญหาสุขภาพและการจัดบริการสุขภาพที่เหมาะสำหรับแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ กรณีศึกษาโรงงานผลิตภาชนะเคลือบแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารควบคุมโรค. 45 (3), 270-280.

คณิต เขียววิชัย และคณะ. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ของระดับความสนใจการเล่นกีฬากับระดับคุณภาพชีวิตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 7 (2), 51-65.

โครงการพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต. (2560). การส่งเสริมสุขภาพจิต: แนวคิดหลักฐานและแนวทางปฏิบัติ. เชียงใหม่: โครงการพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต.

จรรเพ็ญ ภัทรเดช. (2559). อำนาจในการทำนายการรับรู้ประโยชน์และคุณค่าการออกกำลังกายต่อ ทัศนคติการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 3 (1), 158-173.

ณัฐราพร พรหมประสิทธิ์. (2560). บทบาทหญิงชายในการศึกษาระดับประถมของประเทศเมียนมา. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์. 17 (2), 27-47.

ดนัย ปัตตพงศ์. (2558). เอกสารวิชาการด้านศาสตร์การวิจัยและสถิติประยุกต์. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2563, จาก http://it.nation.ac.th/faculty/danai/download/statistics%20talks5.pdf

ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์ และพลภัทร์ โล่เสถียรกิจ. (2560). การจัดการความเครียดของพยาบาล: บทความฟื้นฟูวิชาการ. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 11 (1), 45-61.

เดโช แขน้ำแก้ว และคณะ. (2562). แรงงานข้ามชาติ: คุณภาพชีวิตและการสร้างคุณค่าบนประสบการณ์ ณ ถิ่นปลายทาง กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (1), 305-325.

ธนัมพร ทองลอง. (2561). แหล่งความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของชาวบ้านวัยกลางคนในชุมชนชนบท จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 21 (1), 89-95.

นฤทธิ์ ฤทธิ์คำรพ และคณะ. (2561). การพัฒนานโยบายและมาตรการคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าวในภาคประมงทะเล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. 5 (2), 250-273.

บรรจง พลไชย. (2558). พฤติกรรมออกกำลังกายและปัจจัยเอื้อต่อการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. 25 (1), 117-131.

พระครูสิริสุตานุยุต. (2559). บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชนตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 1 (1), 11-24.

พราวพิชชา เถลิงพล. (2563). ประสิทธิผลการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพของกลุ่มแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (1), 254-267.

มัฏฐวรรณ ลี้ยุทธานนท์ และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบถวายความรู้การดูแลด้านสุขภาพสำหรับพระภิกษุสงฆ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 25 (2), 104-117.

ศิริชัย เพชรรักษ์ และชยสร สมบุญมาก. (2559). ตลาดแรงงานของไทยในอนาคต. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2 (3), 99-113.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (19 พฤศจิกายน 2562). วิกฤตสถานการณ์ปัญหาสุขภาพประชากรข้ามชาติ” “ความจริง” ที่ยังไม่เคยรับรู้. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563, จาก https://www.hsri.or.th/media/news/detail/12190

สมสุข นิธิอุทัย และคณะ. (2560). การสังเคราะห์รูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 9 (2), 73-92.

สร้อยสุดา เกสรทอง และคณะ. (2560). ปัญหาสุขภาพจากการทำงานในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ (แรงงานต่างด้าว) จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารควบคุมโรค. 43 (3), 255-269.

สราวุฒิ พงษ์พิพัฒน์ และคณะ. (2560). การบริหารจัดการศูนย์กีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬาในมหาวิทยาลัย. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 1 (1), 52-61.

สหัทยา รัตนจรณะ และคณะ. (2558). การพยาบาล: มุมมองของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล . วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 8 (4), 140-152.

สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2561). บทสรุปผู้บริหารเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านแรงงานในจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครศรีธรรมราช.

สุทธิพร บุญมาก. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อาจินต์ สงทับ และวุฒิชัย ทองสามสี. (2560). การพัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 11 (2), 191-206.

Cochran, W. G. (1997). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Somerana, L., et al. (2020). Quality of Work Life and Organizational Climate Factors Affecting Work Efficiency of SME Business Employees in Suphanburi Province, Thailand. International Journal of Innovation, Creativity, and Change. 12 (11), 286-296.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-21