การพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
การพัฒนาสุขภาวะ, การสร้างเสริมสุขภาวะ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาและการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดพะเยา เพื่อวิเคราะห์องค์ความรู้ วิถีปฏิบัติตามแนวพระพุทธศาสนาและวิถีวัฒนธรรมชุมชนในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา และเพื่อวิเคราะห์นโยบาย กลไก กระบวนการและเครือข่ายการเสริมสร้างผู้สูงอายุ การวิจัยนี้เป็นเชิงคุณภาพ โดยใช้แหล่งข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า ประการแรก การพัฒนาและการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ได้แบ่งผู้สูงอายุเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเอง 2. ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เรียกว่า ภาวะติดเตียง 3. ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้แต่ติดบ้าน 4. ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้แต่ติดสังคม และใช้หลักสัทธรรม 3 เป็นกลไกในการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะ ประการที่สอง องค์ความรู้และวิถีปฏิบัติตามแนวพระพุทธศาสนาและวิถีวัฒนธรรมชุมชน ได้ใช้หลัก 5 อ. และ 1 ศ. รวมถึงการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะใน 4 ด้าน ประการที่สาม นโยบาย กลไก กระบวนการและเครือข่ายการเสริมสร้างผู้สูงอายุ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับพันธกิจ เป้าประสงค์ในการพัฒนาหรือยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน นั่นคือ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาสังคม การศึกษาและวัฒนธรรม ส่วนกลไกพัฒนามีหน่วยงานได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เช่น สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีคณะกรรมการบริหาร มีกองทุนและโครงการที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ เช่น กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพชุมชนด้านการพัฒนาศักยภาพคนพิการ ผู้สูงอายุ และมีเครือข่าย เช่น โรงเรียนผู้สูงอายุ ส่วนกระบวนการดำเนินงานมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจนถึงการรายงานผลการดำเนินงานโครงการ โดยมีทรัพยากรในการบริหารจัดการแบบ 4Ms คือ บุคคล งบประมาณ การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและวัสดุอุปกรณ์
References
โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา. (ม.ป.ป.). พุทธศิลป์ไทลื้อ. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (เอกสารอัดสำเนา).
โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2546). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาการของสังคม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จิตรมาลา จันทร์ทอง. องค์ความรู้เรื่องตุงไทลื้อ. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559, จาก http://province.m-culture.go.th/nan/ong/thung.pdf
ณรงค์ เส็งประชา. (2538). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
นิเทศ ตินณะกุล. (2546). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิยพรรณ วรรณศิริ. (2550). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บันเทิง พาพิจิตร. (2547). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
บุญส่ง สมฤทธิ์. (2539). ตำนานพระธาตุสบแวน, พิมพ์ครั้งที่ 2. ม.ป.ท.
ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. (2525). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 22. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล เล่ม 18. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2532). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาอังกฤษ-ไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
วสันต์ เทพสุริยานนท์. (2546). ทุนนิยมกับการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วาณี เอี่ยมศรีทอง. (2542). รายงานการวิจัยเรื่องตุง: ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นอาชีพ. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิถี พานิชพันธ์. (2548). วิถีล้านนา. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.
สุพัตรา สุภาพ. (2534). สังคมวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สุริชัย หวันแก้ว. (2537). สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ.
เสาวภา ศักยพันธ์. (2554). รายงานการวิจัยเรื่องการปรับปรนและการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาหารไทลื้อในเขตล้านนา. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
อมรา พงศาพิชญ์. (2540). ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการพัฒนา: มุมมองทางมานุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.