ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • อชิร มาละเงิน นักวิจัยอิสระ
  • สมยศ ปัญญามาก กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธร ภาค 5
  • นิยม ยากรณ์ นักวิจัยอิสระ
  • กรนิษฐ์ ชายป่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ศิวพร จติกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

ความคาดหวังของประชาชน, องค์การบริหารส่วนตำบลห้างฉัตร, การบริหารส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของนายก อบต. และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางส่งเสริมการบริหารงานของนายก อบต. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้างฉัตร จำนวน 357 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วน 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยแบบทดสอบค่าที และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว 

         ผลการวิจัยพบว่า ประการแรก ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของนายก อบต. โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายละเอียดประชาชนในตำบลห้างฉัตรมีความคาดหวัง สูงที่สุดด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต การศึกษาและการกีฬาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาด้านการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาด้านการพัฒนาการเมืองและการบริการอยู่ในระดับมากที่สุด และสุดท้ายด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาสาธารณูปโภคอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ ประการที่สอง ผลการเปรียบเทียบประชาชนที่มีเพศและอายุต่างกัน ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของนายก อบต. แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการศึกษาที่ต่างกัน ความคาดหวังนายก อบต. ไม่มีความแตกต่างกัน ประการที่สาม ปัญหาที่พบ คือ ประชาชนคาดหวังให้นายก อบต. เข้ามาแก้ปัญหาการเผาใบไม้ในที่โล่งแจ้งและพื้นที่ทำการเกษตร การขาดความสามัคคีในชุมชน ถนนในเขตชุมชนยังมีปัญหาเป็นหลุมเป็นบ่อจำนวนมาก และอุปกรณ์การศึกษาและการกีฬาไม่เพียงพอต่อความต้องการ แนวทางส่งเสริม คือ ควรเร่งปรับปรุงถนนในชุมชนเพื่อการสัญจร ควรมีนโยบายลดมลพิษจากการเผาขยะ การออกข้อบัญญัติตำบลห้ามเผาขยะในพื้นที่ หางบประมาณให้เพียงพอต่ออุปกรณ์การศึกษาและการกีฬา

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2548). การปกครองท้องถิ่นไทย, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

จรัส สุวรรณมาลา. (2535). ความคิดเห็นของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลต่อบทบาทการบริหารงาน ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2543). หลักกฎหมาปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

บุญชุม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีรินาสาส์น:

รัฐพล นราดิศร. (2545). ประสิทธิผลในการให้บริการแก่ประชาชนของข้าราชการฝ่ายปกครอง: กรณีศึกษาอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศรีพรรณ สิทธิพงศ์. (2524). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ดาว.

สุวิทย์ รุ่งวิสัย. (2535). สังคมไทย: ปัญหาที่ต้องแก้ไข. เชียงใหม่: ดาราวรรณการพิมพ์.

องค์การบริหารส่วนตำบลห้างฉัตร. แผนพัฒนาตำบลห้างฉัตรปี 2550-2553. ลำปาง: องค์การบริหารส่วนตำบลห้างฉัตร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-30