วิสาหกิจชุมชนกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
คำสำคัญ:
วิสาหกิจชุมชน, การพัฒนาที่ยั่งยืน, การพัฒนาชุมชนบทคัดย่อ
วิสาหกิจชุมชนเป็นการดำเนินกิจกรรมเชิงธุรกิจขนาดเล็กที่ดำเนินการร่วมกันแบบกิจกรรมรวมหมู่ โดยสมาชิกของชุมชนใดชุมชนหนึ่ง กิจกรรมที่ดำเนินการมักคิดค้นขึ้นมาในแต่ละชุมชนแล้วนำพัฒนาต่อยอด ขยายกิจการทั้งในด้านการผลิตและการตลาดเพื่อยกระดับการพึ่งตนเองและเพิ่มรายได้แก่คนในชุมชน การผลิตเพื่อกิน เพื่อใช้หรือเศรษฐกิจชุมชน จึงเป็นลักษณะของความพอเพียงสำหรับชุมชนที่เป็นทางออกในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนึ่งในสังคมยุคปัจจุบัน
แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การประเมินทบทวนผลงานที่ผ่านมา เพื่อหาแนวทางแก้ไขหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 2) การพัฒนาสินค้าและบริการอย่างสม่ำเสมอ 3) การควบคุมและรักษาคุณภาพมาตรฐาน 4) การผลิตต้องไม่กระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม อาชีพและวิถีชีวิตของชุมชน 5) ความซื่อสัตย์ในการบริหารกองทุน ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ 6) การศึกษาดูงานเพิ่มเติม 7) การสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ การผลิต และการตลาดภายในและภายนอกชุมชน 8) การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้เป็นต้นแบบสำหรับการเรียนรู้ของสมาชิกและกลุ่มผู้สนใจ
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2553). สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.cep.cdd.go.th /index_old.php#
ขวัญกมล ดอนขวา. (2555). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี.
ณรงค์ เพชรประเสริฐ และวิทยา ว่องกุล. (2545). วิสาหกิจชุมชนกลไกเศรษฐกิจฐานราก. กรุงเทพมหานคร: เอดิสันเพรส โปรดักส์.
ณรงค์ เพรชประเสริฐ. (2542). ธุรกิจชุมชน: เส้นทางที่เป็นไปได้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 6 ก, 18 มกราคม 2548.
วชิรวัชร งามละม่อม. (2552). แนวคิดวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2558, จาก http://file.siam2 web.com/trdm/article/2013328_38 233.pdf
วุฒิสาร ตันไชย และคณะ. (2558). การศึกษาวิจัยการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. เอกสารประกอบการสัมมนาการเมืองการปกครองไทย 2558 เรื่องพลเมืองและชุมชน พลังเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย, วันที่ 20-21 สิงหาคม 2558. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง. (2546). ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สัจจา บรรจงศิริ และคณะ. (2554). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 1 (15/2554), 178-197.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2548). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
เสรี พงพิศ. (2545). หนังสือชุดกระบวนการเรียนรู้วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.
เสรี พงพิศ. (2546). การเรียนรู้การทำแผนงานและสร้างเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน. กรุงเทพมหานคร: เบสท์ กราฟฟิค เพรส.
เสรี พงพิศ. (2548). ชุมชนเรียนรู้อยู่เย็นเป็นสุข. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์.
เสรี พงพิศ. (29 มกราคม 2552). วิสาหกิจชุมชน สร้างฐานการพัฒนา. สยามรัฐรายวัน. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2558, จาก http://sodev๕๒.exteen.com/๒๐๑๑๐๒๐๔/article.
อาแว มาแส. (2558). บทบาทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2558, จาก http://ssde.nida.ac.th/PDF/awae-58.pdf