พุทธธรรมเพื่อความมั่นแห่งสังคม: วิเคราะห์ในเชิงสังคมวิทยา
คำสำคัญ:
พุทธธรรม, การเสริมสร้างความมั่นคง, สังคมวิทยาเชิงพุทธบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการศึกษาแนวคิดสังคมวิทยา อันเป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์อย่างเป็นระบบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมด้านความเชื่อ ค่านิยม การศึกษา การประกอบอาชีพ การปกครอง เป็นต้น ส่วนสังคมวิทยาแนวพุทธศาสตร์ เป็นการศึกษาสังคมวิทยาที่ปรากฏในหลักการพระพุทธศาสนาและประยุกต์หลักพุทธธรรมในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง สามารถจำแนกได้ ดังนี้ 1. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชีวิต เช่น เบญจศีลเบญรธรรม อิทธิบาท 2. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแห่งสังคม เช่น ทิศ สังคหวัตถุ พรหมวิหาร 3. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น สุขของคฤหัสถ์ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง เช่น ระบบราชาธิปไตยหรือระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ต้องปกครองตามหลักทศพิธราชธรรม (ราชธรรม) จักรวรรดิวัตร และราชสังคหวัตถุ กับระบบสาธารณรัฐที่ต้องปกครองตามลิจฉวีอปริหานิยธรรม และ 5. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น เรื่องราวใน วนโรปนสูตร
หลักพุทธธรรมในประเด็นดังกล่าวเป็นการพิสูจน์หลักการทางพระพุทธศาสนาที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล ประโยชน์สุข เป็นการอนุเคราะห์ชาวโลกอย่างแท้จริง พุทธธรรมจึงเอื้อประโยชน์ทั้งแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ หรือเป็นหลักธรรมที่มุ่งเน้นทั้งโลกุตระและโลกิยะ ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงมีหลักธรรมในมิติสังคมวิทยาที่ครอบคลุมทั้งในระดับปัจเจกชน คือ การดำเนินชีวิตของแต่ละคน และระดับมหาชน คือ การใช้ชีวิตที่สัมพันธ์กันตั้งแต่ครอบครัวถึงประเทศชาติ
References
คณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. (2541). สังคมวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2543). สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2538). ความคิดทางการเมืองในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2539). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต ฉบับ 2 ภาษา. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตฺโต). (2528). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 10, 11, 15, 20, 21, 22, 23, 26, 28, 35. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2524). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาอังกฤษ-ไทย. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
Gnanarama, Pategama. (1996). An Approach to Buddhist Social Philosophy. Singapore: Ti-Sarana Buddhist Association.
Kumar, Anand. (2005). Sociology. Delhi: Vevek Prakashan.
Murati, T.R.V. (2003). The Central Philosophy of Buddhism: A Study of Madhayamika System. Delhi: Mushiram Manoharlal.
Rahula, Walpola. (1978). What the Buddha Taught. Revised and Expanded Edition with Texts from Sutta and Dhammapada. Foreword by Paul Demieville. London and Bedford: The Gorden Fraser Gallery.