วัดศรีโคมคำกับบทบาทที่มีต่อชุมชนเมืองพะเยา

ผู้แต่ง

  • พระสุนทรกิตติคุณ (เดชา อินฺทปญฺโญ) วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

วัดศรีโคมคำ, บทบาทวัด, ชุมชนเมืองพะเยา

บทคัดย่อ

          วัดศรีโคมคำเป็นพระอารามเก่าแก่ที่มีความสำคัญต่อชุมชนเมืองพะเยา เนื่องจากเป็นวัดที่มีการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือสังคมมาอย่างยาวนาน สังคมเมืองพะเยาเป็นสังคมเมืองขนาดเล็กที่มีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม แต่อุดมไปด้วยศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่งดงามและทรงคุณค่า สิ่งเหล่านี้เป็นมรดกของชาวพะเยาที่ได้รับการสืบทอด รักษา โดยวัดมีบทบาทสำคัญในการให้การศึกษาและพัฒนาพระภิกษุสามเณรให้รู้จักบทบาทหน้าที่ตนเองในการสั่งสอนคนในชุมชนให้รู้จักดีชั่ว รวมถึงการรู้จักอนุรักษ์ สืบทอดและร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาสังคมประเทศชาติอย่างยั่งยืน วัดจึงเป็นศูนย์กลางการศึกษาเรียนรู้และแหล่งพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ ทั้งงานกิจการคณะสงฆ์และสังคมภายนอก

          วัดศรีโคมคำมีบทบาทที่โดดเด่น และได้ดำเนินการดังกล่าวมา จนเป็นที่ยอมรับในชุมชนเมืองพะเยา ด้วยการเป็นต้นแบบที่ดีในการดำเนินงานช่วยเหลือสังคมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่น ด้านการเผยแผ่ การศึกษาสงเคราะห์ การพัฒนาและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งผลทำให้คนในสังคมเกิดความสงบสุข ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้ เพราะวัดได้สร้างทรัพยาการบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีคุณค่าในการเป็นต้นแบบของคณะสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนเมืองพะเยา 

References

กองวิศวกรรมประมง. (2554). การบริหารจัดการทรัพยากรประมงในแหล่งน้ำ. รายงานผลการสัมมนากรมประมง คณะประมง 2547. งานศึกษาสำรวจและออกแบบโครงขุดลอกกว๊านพะเยาและจัดทำประชาพิจารณ์จังหวัดพะเยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กีรติ ศรีวิเชียร. (2526). อดีตปัจจุบันและอนาคตแห่งบทบาทของสังคมของวัด. กรุงเทพมหานคร: กองแผนงานกรมการศาสนา.

เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ. (2553). ศรีโคมคำ. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.

ขรรค์ชัย บุนปาน. (2538). ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมเมืองพะเยา. กรุงเทพมหานคร: พิฆเณศ พริ้นท์ติ้งเซ็นเตอร์.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพมหานคร: วัดราชโอรสาราม.

พระธรรมวิมลโมลี (ปวง ธมฺมปญฺโญ). (2550). พระเจ้าตนหลวง. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ และพระสุนทรกิตติคุณ. (2552). วัดศรีโคมคำ (พระเจ้าตนหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพิธีสมโภชหิรัญบัฏ-เครื่องยศสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏและฉลองสัญญาบัตร-พัดยศพระราชาคณะชั้นสามัญ. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30