ปุพพเปตพลีที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานล้านนาของวัดหลวงราชสัณฐาน จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • พระครูใบฎีกาเฉลิมพล อริยวํโส (คำเชื้อ) วัดหลวงราชสัณฐาน จังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

ปุพพเปตพลี, คัมภีร์ใบลานล้านนา, วัดหลวงราชสัณฐาน, จังหวัดพะเยา

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักปุพพเปตพลีที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ศึกษาความเป็นมาของการทำบุญปุพพเปตพลีที่ปรากฏในคัมภีร์เปตพลีฉบับวัดหลวงราชสัณฐาน และวิเคราะห์หลักการทำบุญปุพพเปตพลีที่ปรากฏในคัมภีร์เปตพลีฉบับ  วัดหลวงราชสัณฐานที่มีอิทธิพลต่อชาวล้านนา การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลขั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยต่อไป

          ผลการวิจัยพบว่า ปุพพเปตพลีที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเป็นการทำบุญที่พระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติที่เกิดเป็นเปรต อันเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งตามหลักพลีกรรม 5 ประการ การทำบุญปุพพเปตพลีในคัมภีร์เปตพลีฉบับวัดหลวงราชสัณฐาน พบว่า มีโครงเรื่องมาจากเหตุการณ์ที่พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงกระทำไว้เป็นแบบอย่างในสมัยพุทธกาล หลักธรรมที่พบ เช่น ศีล ความเชื่อเรื่องบุญบาป ทาน ความกตัญญูกตเวที อริยทรัพย์ ศรัทธา ภาวนาและความไม่ประมาท และการวิเคราะห์หลักการทำบุญปุพพเปตพลีที่ปรากฏในคัมภีร์เปตพลีฉบับวัดหลวงราชสัณฐานที่ส่งผลต่อสังคมในล้านนามี 2 ด้าน คือ 1) ด้านสังคม เป็นเครื่องมือควบคุมทางสังคมโดยการยกเรื่องอบายภูมิมานำเสนอให้คนในสังคมได้รับรู้ ช่วยส่งเสริมให้สังคมมีความเจริญมั่นคง สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับสถาบันครอบครัวและสังคมให้มีความสามัคคีกลมเกลียวกัน ก่อให้เกิดสันติสุขแก่สังคมโดยรวม 2) ด้านประเพณี ส่งผลให้ชาวล้านนาถือปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง เป็นอุปถัมภ์พระภิกษุสามเณร ส่งเสริมพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง

References

คัมภีร์ใบลานเปตพลี ฉบับวัดหลวงราชสัณฐาน. วัดหลวงราชสัณฐาน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา.

พระภานุมาศ ธมฺมานนฺโท (ทิลาวรรณ). (2550). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมพระพุทธศาสนาล้านนาเรื่องปิฏกะทั้งสาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). (2549). การศึกษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องอานิสงส์และคัมภีร์ที่ใช้เทศน์ในเทศกาลต่าง ๆ ของล้านนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มณี พยอมยงค์. (2516). ประวัติและวรรณคดีลานนา. เชียงใหม่: มิตรนราการพิมพ์.

มณี พยอมยงค์. (2523). พจนานุกรมลานนาไทย. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มณี พยอมยงค์. (2524). วัฒนธรรมลานนาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

มณี พยอมยงค์. (2545). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. เชียงใหม่: ส.เจริญทรัพย์การพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 21, 22, 26. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศูนย์ใบลานศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ฐานข้อมูลคัมภีร์ใบลาน พับสา และเอกสารอักษรตระกูลไท. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2558, จาก http://www.culture.cmru.ac.th/manuscript_database/bailan_dblist.php

สมชัย ใจดี และยรรยง ศรีวิริยากรณ์. (2533). ประเพณีและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิชย์.

สาร สาระทัศนานันท์. (2530). ฮีตสิบสองคลองสิบสี่. เลย: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูเลย.

เสถียรโกเศศ. (2539). ประเพณีเนื่องในการตาย. กรุงเทพมหานคร: สยาม.

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30