ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านค้าปลีก แบบดั้งเดิม(โชห่วย) ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ทรงฤทธิ์ สวยรูป นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ธีรวัตร์ ภูระธีรานรัชต์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมการใช้บริการ, ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม

บทคัดย่อ

            การวิจัย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม(โชห่วย) ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2. ศึกษาระดับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และ 3. ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า (rating scale) ที่มีความเชื่อมั่น (reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.916 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน  โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมซึ่งประกอบด้วยด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับมาก และมีพฤติกรรมการใช้บริการร้านค้าปลีกในระดับมากเช่นกัน โดยปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านค้าปลีกในทิศทางบวกระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย สำหรับตัวพยากรณ์ที่ทำนายได้ดีที่สุด ได้แก่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งสามารถพยากรณ์ได้ในภาพรวมถึงร้อยละ 67.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านการส่งเสริมการตลาดไม่ส่งผลต่อการพฤติกรรมการใช้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

เขมขวัญ สุดดี. (2557). กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคชาวไทยต่อการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเฟซบุ๊ก. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กองนโยบายและแผนงาน. (2560). การค้าปลีก การค้าส่ง และการค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี พ.ศ. 2559. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2565, จาก : https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000354/plan/static/2.pdf

จิรวรรณ ตั้งไพฑูรย์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). การวิเคราะห์ความสมนัยระหว่างช่วงวัยความพึงพอใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและความภักดีต่อตราสินค้าร้านขนมหวานจังหวัดเพชรบุรี. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 8(1), 148-158.

ชื่นสุมล บุนนาค. (2559). ความพึงพอใจในปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อ สินค้าในร้านค้าปลีกดั้งเดิมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 13(1), 66-91.

ทิศมนต์ พันธุ์ทอง. (2562). การศึกษารูปแบบของลักษณะธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม กรณีศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นภัทร ไตรเจตน. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมกรณีศึกษาในตลาดไท ปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปฏิกร ทิพย์เลอเลิศ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์. (2554). ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของธุรกิจค้าปลีกประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 228 หน้า.

พูลสุข นิลกิจศรานนท์ และปิยะนุช สถาพงศ์ภักดี. (2560). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2560-2562 : ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2565, จาก : www.krungsri.bank/getmedia/fe844b6-74af-44df-9ba4-23dc9d0f7427/IO_ Modern_Trade_2017_TH.aspx.

พันธุ์ทิพย์ ดีประเสริฐดำรง. (2559). ส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าร้าน LOFT ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาณุมาศ ใจกันทะ. (2556). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ภัคชญานันท์ ไกรเดช. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจค้าปลีกในเขตภาคกลาง. วารสารรัชต์ภาคย์, 10(19) ,1-15.

ภัทราวรรณ สุขพันธ์. (2560). หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีก [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2561, จาก : www.lampangvc.ac.th/DVT/e-book.pdf.

วรงรอง ศรีศิริรุ่ง, กนิษฐา สุขสมัย และชษาพิมพ์ สัมมา. (2561). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารช่อพะยอม, 29(2), 397-405.

วันวิสา ก้อนนาค. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ตลาดนัดธนบุรี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 479 หน้า.

สำนักทะเบียนท้องถิ่น. (2565). จำนวนประชากรในเขตสำนักทะเบียน. สุรินทร์.

สุวรรณ เนียมประชา, ศิริพร น้อยวงศ์ และประเณตรี คงงาม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 8(1), 86-96.

หอการค้าจังหวัดตาก. (2561). 15 แนวทางการปรับตัวของค้าปลีกท้องถิ่นเพื่อความอยู่รอด. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2565, จาก : www.takchamber.com/index.php?lay=show&ac= article&Id=313311&.

อนุศาสตร์ สระทองเวียน. (2556). ธุรกิจค้าปลีก ประเทศไทย Retail Business in Thailand. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม.

อุมาวดี เดชธำรง. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(1), 173-190.

Payne, A. (2011). The Essence of Services Marketing (Essence of Management Series). Pearson P T R. 264 pages

Kapyubon, W. (2009). Factors Affecting Buying Decision at Small Retail Shops in Ubon Ratchathani Municipal Area. Master of Business Administration thesis. General Management Graduate School, Ubon Ratchathani Rajabhat University.

Kotler, P. and Armstrong, G. (2012). Principles of marketing. (14th Ed.). Boston : Pearson Prentice Hall, 352 pages.

Morgan, R.M. and Hunt, S.D. (1994). The Commitment - Trust Theory of Relationship Marketing. Journal of Marketing, 58, 20-30.

Roy, S.C. and Andrews, H. A. (1999). The ROY Adaptation Model. (2nd Ed.). ctiff, N.j. : Appleton and Lange. 574 pages.

Yamane, T. (1967). Statistics, an introductory analysis. (2nd Ed.). New York : Harper and Row. 229 pages.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-02