คุณภาพชีวิตในการปฎิบัติงานของบุคลากรระดับปฏิบัติการ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ผาสุข สุขประสงค์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • สินีนาถ เริ่มลาวรรณ อาจารย์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรระดับปฏิบัติการ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรระดับปฏิบัติการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรระดับปฏิบัติการ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 ชุด     โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน    สถิติ T-Test One-Way ANOVA Chi-square

            ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 31ปี-40 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นปลาย (ม.6/ปวช.) มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปี มีอายุการทำงานในองค์กร 3ปี-5 ปี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001บาท-30,000 บาท คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน พบว่า คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกลักษณะและความปลอดภัยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน อายุการทำงานในองค์กร และรายได้ต่อเดือน ที่ต่างกันจะมีคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและรายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรระดับปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กาญจนสุดา เพ็งภู่. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร สังกัดกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(1), 167-177.

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2554). การวิจัยบริการทางสุขภาพ. ฉะเชิงเทรา: ห้างหุ่นส่วนจำกัด แฮมคอมพิว ออฟเซท.

กรสรรค์ เอนกศักยพงศ์ และเนตร์พัณณา ยาวิราช. (2557). กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมยายยนต์และชิ้นส่วน. RMUTT Global Business and Economics Review, 9(2), 16-26.

ณิศาภัทร ม่วงคำ. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร : กรณีศึกษา เจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัย มูลนิธิ มิราเคิล ออฟไลฟ์ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี. สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกริก.

ทิพวรรณ ศิริคูณ. (2542). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันธ์ต่อองค์การ: กรณีศึกษา บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภัทรานันทน์ อยู่เกิด, สุวรรณา เขียวภักดี และอธิป จันทร์สุริยะ. (2564). คุณภาพชีวิตในการทำงานและคุณภาพชีวิตของพนักงานโรงแรมในเขต กรุงเทพมหานคร ภายใต้สถานการณ์ COVID-19. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 410-426.

รัชนก สุดใจ. (2564). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรเทศบาลในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(1), 72-83.

วิทยา อินทร์สอนและสุรพงศ์ บางพาน. (2559). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของ

พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก : https://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=773&section=30&issue=74.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.). (2564). อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2564, จาก : https://www.eeco.or.th/th/next-generation-automotive-industry.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2560-2579. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก : http://www.nesdb.go.th.

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน). (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality Of Working Life). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/475-quality-of-working-life.

อนรรฆ อิสเฮาะ. (2562). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลสะกอม อําเภอเทพา จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อรุณรัตน์ บุ่งนาม. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

Harikrishnan, A. and Raveendran, A. (2013). Quality of Work Life and Job Satisfaction among Management Academic Professionals in State Private Universities of Jaipur Rajasthan. Journal of Management Value & Ethics, 3(1), 18-28.

Walton, R. E. (1974). Improving Quality of Work Life. Harvard Business Review, 15(5), 12-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-15