ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และรูปแบบเครื่องมือสื่อสารตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ้าไทยและผ้าพื้นเมืองบนตลาดออนไลน์ในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ณฐภศา เดชานุเบกษา อาจารย์ประจำ สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง, ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์, เครื่องมือการสื่อสารตลาดแบบออนไลน์, การตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันที่มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และปัจจัยรูปแบบเครื่องมือการสื่อสารตลาดแบบออนไลน์ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และปัจจัยรูปแบบเครื่องมือสื่อสารตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ้าไทยและผ้าพื้นเมืองบนตลาดออนไลน์ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคามซึ่งเป็นผู้ที่เคยสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ จำนวน 400 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา สถิติ t-test สถิติ f-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ stepwise ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และปัจจัยรูปแบบเครื่องมือสื่อสารตลาดออนไลน์ในด้านรูปแบบคอนเทนท์ และด้านรูปแบบการสร้างกระแสสังคม มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ้าไทยและผ้าพื้นเมืองบนตลาดออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)

References

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). ข้อมูลระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2564 จาก : https://smce.doae.go.th.

ประชาชาติธุรกิจ. (2562). ยอดขายออนไลน์โอท็อปมหาสารคามโตกว่า 30%. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2565 จาก : https://www.prachachat.net/local-economy/news-329957

ธัญญธร ศรีวิเชียร. (2561). กลยุทธ์การตลาดบริการสำหรับธุรกิจร้านผ้าพื้นเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 5(1), 60-74.

ธิคณา ศรีบุญนาค และอุมาพร พงษ์สัตยา. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเกาหลีผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(3), 88-100.

พรพรรณ ตาลประเสริฐ. (2559). อิทธิพลของการตลาดแบบดิจิทัลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2553). การตลาดแนวใหม่ผ่าน Social Media. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

รวิภา สู้สกุลสิงห์ และ วราวุธ ฤกษ์วรารักษ์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. โครงการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ.2564 (NPSC 2021), มหาวิทยาลัยนเรศวร: 66-83.

วิเชียร วงศ์ณิชชากุล. (2550). การบริหารการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2564ก). เครื่องมือการสื่อสารตลาดแบบออนไลน์. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 8 กันยายน 2564 จาก : https://marketeeronline.co/archives/212042.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2564ข). เครื่องมือการสื่อสารตลาดแบบออนไลน์ (ตอนที่ 2). [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 8 กันยายน 2564 จาก : https://marketeeronline.co/archives/215505.

วิภาดา อำไพ, จิรพล จิยะจันทร์ และตรีเนตร ตันตระกูล. (2561). อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์กับการสร้างกลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านการค้าและการบริการ. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 113-127.

วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศศิธร นะราวัง และสุพัฒน์ อาสนะ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 2(1), 123-138.

ศศิพิม อังศุสิงห์. (2557). เครื่องมือการสื่อสารการตลาดผ่าเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network Marketing) ส่งผลต่อการเลือกซื้อเบเกอรี่ผ่านทางออนไลน์ของร้าน Pimpong Bakery Homemade. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจทหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุทิน ชนะบุญ. (2560). บทที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน. สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพเบื้องต้น, 148-160. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 8 กันยายน 2564 จาก : https://www.kkpho.go.th/

i2021/index.php/component/attachments/download/1933.

เสาวลักษณ์ สมานพิทักษ์วงค์, วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง และกอแก้ว จันทร์กิ่งทอง. (2559). ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่: 480-491.

สำนักงานนโยบานและยุทธศาสตร์ (2564, พฤษภาคม). พาณิชย์เผย โควิดดันยอดซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น 0.45 เท่า. ข่าวสารกระทรวงพาณิชย์. กระทรวงพาณิชย์.

อาทิตย์ ว่องไวตระการ. (2560). อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Efendioglu, A. and Igna, F. (2011). Attracting Customers Online: Effectiveness of Online Marketing Tools. Master Thesis: Master of Arts, Master programme Electronic Commerce. Luleå University of Technology

Kotler, P. (1997). Marketing Management Analysis, Planning, Implementation and Control. (9th edition). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Meng, X. (2009). Developing Model of E-commerce E-marketing. Proceedings of the 2009 International Symposium on Information Processing, Huangshan, P. R. China: 225-228.

Sam, K. M. and Chatwin, C. (2013). Measuring E-Marketing Mix Elements for Online Business. International Journal of E-Entrepreneurship and Innovation, 3(3), 13-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-03