การกำหนดเป้าหมายของการวางแผนงบประมาณที่มีผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กร
คำสำคัญ:
การกำหนดเป้าหมาย, การวางแผนงบประมาณ, ผลการดำเนินงานขององค์กรบทคัดย่อ
การบริหารองค์กรในสภาวะที่เศรษฐกิจ สังคม มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เครื่องมือที่สำคัญเพื่อนำมาใช้ในการกำหนดเป้าหมายในการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพ คือ การวางแผนงบประมาณ โดยการวางแผนที่ดีนั้น องค์กรจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายที่มีความชัดเจน มีความยากและได้รับความร่วมมือจากคนในองค์กร ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า การกำหนดเป้าหมายที่ดีนั้นจะช่วยควบคุมการวางแผนงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กร หากผู้บริหารและพนักงานขององค์กรให้ความสำคัญกับการกำหนดเป้าหมายของการวางแผนงบประมาณแล้วนั้นก็จะส่งผลให้องค์กรมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงิน ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ในการกำหนดเป้าหมายการวางแผนงบประมาณยังต้องคำนึงถึงรูปแบบการดำเนินงานและผลการดำเนินงานขององค์กรที่จะเกิดขึ้น ทั้งทางด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน โดยรูปแบบผลการดำเนินงานขององค์กรสามารถวัดได้หลายวิธี เช่น การประเมินผลโดยพิจารณาการดำรงอยู่ขององค์กร การใช้เกณฑ์ในด้านการเงิน การวัดผลเชิงดุลยภาพและการเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น เป็นต้น ดังนั้น การที่องค์กรแต่ละองค์กรจะประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจและมีผลการดำเนินงานที่ดีเป็นที่ยอมรับ ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการกำหนดเป้าหมายของการวางแผนงบประมาณที่ดีขององค์กร เพราะถ้าสมาชิกในองค์กรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการวางแผนงบประมาณ ตลอดจนการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้วนั้น ก็จะส่งผลดีให้แก่องค์กรโดยมีส่วนช่วยในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานและการคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าองค์กรมีการกำหนดเป้าหมายของการวางแผนงบประมาณที่ไม่ดี สมาชิกในองค์กรขาดการเอาใจใส่ก็จะส่งผลเสียต่อการดำเนินงานขององค์กรตามมา ซึ่งอาจนำไปสู่การปิดตัวหรือการล้มละลายขององค์กรในที่สุด
References
กรภัทร เฉลิมวงค์ และวรลักษณ์ บัวบุศ. (2559). การพัฒนาโปรแกรมความสามารถการตั้งเป้าหมายในการเรียนของ นักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
คนึงนิจ. (2560). การตั้งเป้าหมาย หมายถึงอะไร มีวิธีการตั้งอย่างไรบ้างแบบ SMART ที่สุด [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2064, จาก : https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php? bookID=4208&pageid=25&read=true&count=true.
ชนัญฎา สินชื่น. (2559). การวางแผนกำไรและการควบคุม. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2564, จาก : http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/17eN8s530b7Bqb37sXP3.pdf.
ชลธิชา ชูสกุลจิต. (2559). การนำเทคนิค การวัดผลการดำเนินงานเชิงดุลยภาพไปสู่การปฏิบัติในองค์กร: กรณีศึกษาโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์. การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณภัทร บุญเผื่อน. (2559). การจัดทำงบประมาณ (BUDGETING) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2564, จาก : https://www.gotoknow.org/posts/599596.
ธนพล ก่อฐานะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการจัดการความเสี่ยงกับผลการดำเนินงานแบบสมดุล ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 14(3), 106-115.
ธาริณี สุโครต. (2562). การบริหารโดย Balanced Scorecard. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(3), 47-56.
เบญจมาส เปาะทอง. (2564). แนวคิดตัวชี้วัดแบบสมดุลกับปัจจัยความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 23(1), 243-256.
พสุ เดชะรินทร์. (ม.ป.ป.). แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ Balanced Scorecard [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2564, จาก : https://www.tungsong.com/vijai/BSCArticle.pdf.
พสุ เดชะรินทร์. (2018). การประเมินผลการดำเนินงานขององค์กร (Measurement) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2564, จาก : https://pasuonline.com/2018/07/23/การประเมินผลการดำเนินงาน/.
วีรภัทร นรเศรษฐีกุล. (2561). การศึกษาคุณสมบัติของผู้ประกอบการ การวัดผลเชิงดุลยภาพและเครือข่ายของธุรกิจที่มีผลต่อความสามารถทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทย: กรณีศึกษาผู้ประกอบการรายใหม่ (Start-up) ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศุภลักษณ์ นพรัตน์. (2561). ความเชื่อมโยงระหว่างความไม่แน่นอนในงาน ค่านิยมองค์กรแบบนวัตกรรมและการใช้การวัดผลการดำเนินงานเชิงดุลยภาพในธุรกิจแปรรูปยางพาราในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สมบูรณ์ สารพัด, ณัฐณิชา สุขฤทธิ์, ณัฐธิยา แก่นทรัพย์เกริก, นวพร สุทธิประภา, นวอร ฉาไธสง, ปิยราช บางศิริ, และคณะ. (2562). หลักการ และทฤษฎีการวัดผลการดำเนินงานขององค์กรโดยใช้ Balanced Scorecard และการนำไปประยุกต์ใช้. วารสารสยามวิชาการ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(34), 35-48.
อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (มปป.) การจัดทำงบประมาณเพื่อการวางแผนและการควบคุม [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2564, จาก : https://home.kku.ac.th/anuton/185742/D1.pdf.
อรปรียา รุ่งสง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ข้อมูลบัญชีบริหารกับการใช้ Balanced Scorecard เพื่อ ความสำเร็จของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทบริการในเขตภาคใต้. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Hariyanto, E. (2018). Effect of participatory budgeting on Manager performance: Goal commitment and Motivation as moderation variable. in Proceedings of the 5th International Conference on Community Development (AMCA 2018), 19-20th July 2018, 334-337. Philippines.
HREX.asia. (2021). การนำหลักการ SMART มาตั้งเป้าหมายขององค์กรให้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2564, จาก : https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190910-smart-organization-goal/.
Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). The balanced scorecard: Translating strategy into action. Boston : Harvard Business School Press.
LE, T. N., & NGUYEN, D. D. (2020). An Impact of Budgetary Goal Characteristics on Performance: The Case of Vietnamese SMEs. The Journal of Asian Finance, Economics and Business, 7(9), 363–370.
Sari, I. G. A. D. I., & Dwirandra, A. (2019). The ability of organization commitment and moderate worked motivation by the effect of budget goal clarity in budgetary inaccuracy. International Research Journal of Management, IT and Social Sciences, 6(3), 11-17.