แนวทางการจัดการการผลิตช่างอากาศยานของสถาบันฝึกอบรมช่างอากาศยานในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อัญยาณีย์ เกตุพันธุ์ นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล อาจารย์ประจำหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • พิศมัย จารุจิตติพันธ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการ, ช่างอากาศยาน, สถาบันฝึกอบรมช่างอากาศยาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการจัดการการผลิตช่างอากาศยานของสถาบันฝึกอบรมช่างอากาศยานที่ส่งผลต่อคุณลักษณะช่างอากาศยานที่สถาบันฝึกอบรมช่างอากาศยานผลิตได้ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการการผลิตช่างอากาศยานของสถาบันฝึกอบรมช่างอากาศยาน ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออก 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง บุคลากรผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับช่างอากาศยาน จำนวน 183 คน กับกลุ่มที่สอง สถานประกอบการในอุตสาหกรรมการบิน จำนวน 70 คน โดยใช้เครื่องมือวิจัย 2 แบบ ประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวิเคราะห์สมการถดถอยชนิดตัวแปรหลายตัว ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยระบบและกลไกการบริหารจัดการสถาบัน ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปัจจัยระบบและกลไกการปลูกฝังจิตสำนึกการเป็นพลเมืองไทย ส่งผลต่อคุณลักษณะของช่างอากาศยานที่สถาบันฝึกอบรมช่างอากาศยานผลิตได้ สำหรับแนวทางการจัดการการผลิตของสถาบันฝึกอบรมช่างอากาศยานในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) การเสนอแนวทางการจัดการการผลิตช่างอากาศยานของสถาบันฝึกอบรมช่างอากาศยาน เป็นขั้นตอนนำข้อมูลเข้า ขั้นตอนที่สอง แนวทางการจัดการผลิต เป็นขั้นตอนกระบวนการ และขั้นตอนที่สาม เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการ

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. การวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์เชิงซ้อน. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

คณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาช่างอากาศยานตามคำสั่งคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ. (2561). แผนแม่บทขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนด้านช่างอากาศยาน พ.ศ.2562-2568. [ออนไลน์]. ค้นหาเมื่อ 15 มกราคม 2564, จาก https://shorturl.asia/AmSV8.

คณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ. (2563). ข่าวภารกิจผู้บริหารระดับสูงทั้งบุคลากรการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล. ครั้งที่ 1/2563. [ออนไลน์]. ค้นหาเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://moe.go.th/34754-2.

ธัญญรัตน์ คำเพราะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการการศึกษาของสถาบันการบินพลเรือน. รายงานการวิจัยสถาบันการบินพลเรือน ประจำปี 2561. สถาบันการบินพลเรือน.

ทรงพล เจริญคำ. (2563). รูปแบบความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(1),143-155.

ประเสริฐ พืชผล. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้.ดุษฎีนิพนธ์.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

วิธาน มณีงาม. (2561). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะช่างอุตสาหกรรม (กลุ่มปิโตรเคมี) ที่พึงประสงค์ เพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุทธิศักดิ์ นันทวิทย์ และ สจีวรรณ ทรรพวสุ. (2558). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(1), 214-225.

Agado, G.A. (1998). Staff Development in Effective Broader Schools. Degree of Doctor of Philosophy, The University of Texas. Australia.

Chang, H.M. and Kora, A. (2014). The operational management model of aircraft Maintenance Repair and Overhaul (MRO) Business. International journal of trends in economics management & technology, 3(2), 21-28.

Christmann, A. and Van Aelst, S. (2006). Robust estimation of Cronbach’s alpha. Journal of Multivariate Analysis, 97(7), 1660 – 1674.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests, Psychometrika, 16, 297–334.

Hertz, H. S. (2000). Education criteria for performance excellence: Baldrige national quality program.[Online]. Retrieved January 18th, 2021, Available : https://www.baldrigeinstitute.org/HigherLogic/System/DownloadDocumentFile.ashx?DocumentFileKey=c5825805-df53-c60a-66bc-02a531f5f874

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Rawahi, S. H. A., Jamaluddin, Z. B., and Bhuiyan, A. B. (2020). The Conceptual Framework for the Resources Management Attributes and Aircraft Maintenance Efficiency in the Aviation Industries in Oman. International Journal of Accounting & Finance Review, 5(3), 31-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-21