การศึกษาสมรรถนะของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ตามทัศนะของผู้ใช้บริการ ประจำปีงบประมาณ 2558
คำสำคัญ:
สมรรถนะบทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การศึกษาสมรรถนะของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ตามทัศนะของผู้ใช้บริการ ประจำปีงบประมาณ 2558 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ตามทัศนะของผู้ใช้บริการ และ 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข ในการปฏิบัติงานของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ตามทัศนะของผู้ใช้บริการ ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุน และบุคลากรสายสอน นักศึกษาสโมสร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 93 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30-40 ปี การศึกษาระดับ ปริญญาโท สถานภาพสมรส ส่วนใหญ่ตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัยสายสอน ระยะเวลาในการปฏิบัติงานพบว่า 7 ปีขึ้นไป ระดับสมรรถนะ ในการปฏิบัติงานที่มีอยู่ในปัจจุบันของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ตามทัศนะของผู้ใช้บริการ 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก ( = 4.42) ได้แก่ สมรรถนะด้านจริยธรรม ( = 4.52) รองลงไป ได้แก่ สมรรถนะด้านการให้บริการที่ดี ( = 4.46), สมรรถนะด้านความร่วมแรงร่วมใจ ( = 4.43) , สมรรถนะด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ (= 4.37) และที่มีสมรรถนะน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญ ( = 4.42)
References
จิรประภา อัครบวร. (2549). สร้างคนสร้างผลงาน. กรุงเทพมหานคร: ก.พลพิมพ์ (1996).
ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2543). Competency – Based Human Resources Management. HR Magazine. 21(4), 12 – 22.
ดลธกร วงษ์พันธุ์. (2552). การสำรวจสมรรถนะเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปัณฑ์ณัฐ ศักดา. (2551). สมรรถนะของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองกาจนดิษย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พรพรรณ แย้มมยาสุจริต. (2554). บทบาทเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เทศบาลตำบลวังใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิลัยภรณ์ แย้มสวน. (2552). สมรรถนะในการปฎิบัติงานและความต้องการพัฒนาบุคลากรผู้ปฎิบัติงานในสังกัดสำนักงานเทศบาลจังหวัดสุโขทัย. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัย ราชภัฎอุตรดิตถ์.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์, อัจฉรา ชำนิประศาสตร์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.
ศรีโพธิ์ วายุพักตร์. (มปป.). การวิเคราะห์นโยบายและแผน. มปม : มปท.
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. (2553). คู่มือการพัฒนาข้าราชการตามสมรรถนะหลัก (Core Competencies). กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2004). Competency: เครื่องมือการบริหารที่ปฏิเสธไม่ได้. Productivity. 9(53): 44 – 48.
สมนึก สิ้มอารีย์. (2552 ). การศึกษาสมรรถนะหลักของบุคลากรทางการศึกษาที่ปฎิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2547). แนวคิดเรื่องสมรรถนะ Competency :เรื่องเก่าที่เรายังหลงทาง. Chulalongkon Review. 16(ก.ค. – ก.ย.) : 57 – 72.
Boyatizis, R.E. (1982). The Competent Manager. New York: McGraw-Hill.
Dales, M and Hes, K. (1995). Creating Training miracles. Sydney: Prentice Hall.
McClelland, D.C. (1973). Testing for Competence rather than for Intelligence. American Psychologist. 28: 1 – 14.
Mitrani, A., Dalziel, M., and Fitt, D. (1992). Competency based human resource management: Value driven strategies for recruitment, development, and reward. London: McGraw-Hill.
Spencer, M and Spencer, M.S. (1993). Competence at work: Models for Superiors Performance. New York: John Wiley & Sons.