ต้นทุนโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมโรงแรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้วัตถุประสงค์เพื่อกำหนดตัวแบบการวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมโรงแรมภายใต้กรอบแนวคิดกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ 6 กิจกรรมประกอบด้วย สถานที่/ระดับการให้บริการลูกค้า, ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง, ต้นทุนการปริมาณสินค้า, ต้นทุนการสั่งซื้อและต้นทุนการสื่อสาร, ต้นทุนคลังสินค้า และต้นทุนค่าขนส่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 กิจกรรม ได้แก่ LCHI 1: ต้นทุนการพยากรณ์ความต้องการ
ของลูกค้า LCHI 2:ต้นทุนการจัดซื้อจัดหา LCHI 3: ต้นทุนการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง LCHI 4: ต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลังในคลังสินค้า LCHI 5: ต้นทุนการบริหารการขนส่ง LCHI 6: ต้นทุนการให้บริการลูกค้า LCHI 7: ต้นทุนการให้บริการห้องพักและห้องสัมมนา และLCHI 8: ต้นทุนการให้บริการห้องอาหาร
ผลการศึกษาเปรียบเทียบการคิดต้นทุนโลจิสติกส์ในส่วนของต้นทุนบริหารจัดการของโรงแรมที่เป็นกรณีศึกษา จากตัวชี้วัดแบบจำลองต้นทุนโลจิสติกส์ในโรงแรม (Logistics costs in the hotel industry : LCHI) โดยต้นทุนบริหารจัดการของโรงแรมกรณีศึกษาประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 ต้นทุนการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า 31,850 บาท กิจกรรมที่ 2 ต้นทุนการจัดซื้อจัดหา 105,350 บาท กิจกรรมที่ 6 ต้นทุนการให้บริการลูกค้า 105,700 บาท กิจกรรมที่ 7 ต้นทุนการให้บริการห้องพักและห้องสัมมนา 275,100 บาท และกิจกรรมที่ 8 ต้นทุนการให้บริการห้องอาหาร 199,850 บาท รวมเป็น 717,850 บาท คิดเป็น 20.51% ซึ่งมากกว่าแนวคิดในการคิดค่าบริหารจัดการตามสมมติฐาน CASS Method ที่กำหนดไว้ที่ 10%
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและธนาคารแห่งประเทศไทย. (25 กรกฎาคม 2562). สถิติการท่องเที่ยว ปี 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411
กองโลจิสติกส์. (2561). “คู่มือการประเมินประสิทธิภาพ และศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน”. กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). (2561). “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย 2516”. กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).
บุญชัย แซ่สิ้ว, ศุภรัชชัย วรรัตน์. (2562). การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย. RMUTT Global Business and Economics Review ปี ที่ 14 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2562: 143-156
ธีระ สินเดชารักษ์ ปาณิศา วิชุพงษ์ และอรอุมา เตพละกุล. (2562). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 18 ฉบับเดือนมกราคม-ธันวาคม 2558. 376 – 396.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). “รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทย ปี 2551” กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). “รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทย ปี 2561” กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.