คําแนะนําสําหรับผู้เขียนบทความ

1) วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติหรือ Journal of International Thai Tourism เป็นวารสาร รายไตรมาส มีกําหนดตีพิมพ์วารสาร จํานวน 2 ฉบับ ต่อปี คือ ฉบับที่ 1 รอบเดือนมกราคม - เดือนมิถุนายน และฉบับที่ 2 รอบเดือน กรกฏาคม - เดือนธันวาคม รับบทความทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
2) เรื่องที่จะส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ต้องเป็นงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ
3) บทความเป็นประเภทบทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (journal article) รวมถึงบทความปริทัศน์(review article) บทวิจารณ์หนังสือ (book review) และบทวิจารณ์บทความ (article review)
4) บทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์จะได้รับการประเมินจากกองบรรณาธิการและผู้ประเมิน บทความ 1-2 คน ผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นสิ้นสุด
5) บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น

--------------------------------------------------------- 

รูปแบบและการจัดพิมพ์

1) เขียนบทความด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ขนาดมาตรฐาน A4 มีความยาวไม่เกิน 20 หน้า (รวมบรรณานุกรม) ด้วยโปรแกรม Microsoft Word for Windows ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 (ไทย)หรือ Time New Romans ขนาด 12 (Eng) ในส่วนเนื้อหา
          • หัวข้อหลักให้ใช้ตัวหนา TH SarabunPSK ขนาด 18 (ไทย) หรือ Time New Romans ขนาด 14 (Eng) พิมพ์ชิดซ้ายในหน้ากระดาษ
          • หัวข้อย่อยให้ใช้ตัวหนา TH SarabunPSK ขนาด 16 (ไทย) หรือ Time New Romans ขนาด 12 (Eng)เว้น 1 ระยะ จากหัวข้อหลัก
          • เว้นระยะห่างจากขอบกระดาษซ้าย 2.5 นิ้ว ด้านขวา 2.5 นิ้ว เว้นขอบกระดาษด้านบน 2.5 นิ้ว และด้านล่าง 2 นิ้ว
2) กรณีภาษาไทย: ชื่อเรื่องพิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษด้วย ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด18 (ตัวหนา) ชื่อผู้เขียนพิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษด้วยตัวอักษรธรรมดาขนาด 16
3) กรณีภาษาอังกฤษ: ชื่อเรื่องพิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษด้วย Time New Romans หนาขนาด 14 ชื่อผู้เขียนพิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษด้วยตัวอักษรธรรมดาขนาด 12
4) ในส่วนแรกของบทความต้องมีองค์ประกอบ ได้แก่ชื่อเรื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนทุกคน ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ พร้อมระบุอีเมล, ตําแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) คุณวุฒิสูงสุด และ สถานที่ทํางานของผู้เขียนทุกคน
5) บทคัดย่อ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ความยาวไม่น้อยกว่า 150 คําและไม่เกิน 250 คํา และคําสําคัญ (keywords) จํานวน 3-5 คํา

--------------------------------------------------------- 

รายละเอียดของบทความ ประกอบด้วย

1. บทความวิชาการ ผู้เขียนสามารถจัดทํารูปแบบการนําเสนอได้ตามความเหมาะสม แต่เนื้อหาต้องนําเสนอองค์ความรู้ใหม่ที่น่าสนใจในด้านที่ทําการศึกษา ที่มีการวิเคราะห์วิจารณ์ประเด็นต่างๆ ตาม หลักวิชาการโดยมีหัวข้อประกอบด้วย

          1.1 ชื่อเรื่องและชื่อผู้เขียนบทความ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรเป็นชื่อเรื่องที่สั้น กระชับได้ใจความตรงกับเนื้อหา ตามด้วยชื่อผู้เขียนบทความ ให้มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ในส่วนที่อยู่หรือสถานที่ทํางานของผู้เขียน ให้ระบุไว้ที่เชิงอรรถ
          1.2 บทคัดย่อ (Abstract ) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยจัดทําเป็นร้อยแก้วย่อหน้าเดียวสรุปเนื้อหาสาระสําคัญของบทความมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ ขนาดมาตรฐาน A4 โดยพิมพ์บทคัดย่อภาษาไทยก่อนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract)
          1.3 บทนํา กล่าวถึงที่มา ความจําเป็นและความสําคัญของเรื่อง
          1.4 เนื้อหา นําเสนอข้อมูลวิชาการหรือแนวคิดทฤษฎีที่ทําการศึกษาในประเด็นต่างๆ
          1.5 สรุปผล สรุปผลที่ได้จากการบทความนี้รวมถึงข้อเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการนําบทความวิชาการนี้ไปใช้
          1.6 บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นๆ ที่ใช้สําหรับค้นคว้าอ้างอิงประกอบบทความ ตามที่ได้กําหนดไว้ในเอกสารนี้

2. บทความวิจัย ในเนื้อหาจะต้องประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
          2.1 ชื่อเรื่องและชื่อผู้เขียนบทความ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรเป็นชื่อเรื่องที่สั้น กระชับได้ใจความตรงกับเนื้อหา ตามด้วยชื่อผู้เขียนบทความ ให้มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ในส่วนที่อยู่หรือสถานที่ทํางานของผู้เขียน ให้ระบุไว้ที่เชิงอรรถ
          2.2 บทคัดย่อ (Abstract ) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยจัดทําเป็นร้อยแก้วย่อหน้าเดียวสรุปเนื้อหาสาระสําคัญของบทความมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ ขนาดมาตรฐาน A4 โดยพิมพ์บทคัดย่อภาษาไทยก่อนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract)
         2.3 ความสําคัญและที่มาของปัญหา กล่าวถึงที่มา ความจําเป็นและความสําคัญของเรื่องที่ทําวิจัย
         2.4 วัตถุประสงค์ กล่าวถึงเป้าหมายหรือผลลัพธ์ของงานวิจัยที่ต้องการศึกษา
         2.5 ทบทวนวรรณกรรม ระบุถึงแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัย
         2.6 กรอบแนวคิดการวิจัย ควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และมาจากแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย
         2.7 ระเบียบวิธีการวิจัย ควรอธิบายวิธีการดําเนินการวิจัย โดยกล่าวถึงแหล่งที่มาของข้อมูลกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วิธีการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ขอบเขตการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลและระเบียบวิธีการทางสถิติ                                                                                                                                                 2.8 ผลการศึกษาวิจัย นําเสนอสิ่งที่ได้จากการวิจัย ตามลําดับขั้นตอนในการวิจัย
         2.9 การอภิปรายและสรุปผลการวิจัย เป็นการเชื่อมโยงผลการศึกษากับแนวคิดทฤษฎีหรืองานวิจัยต้องสรุปให้ชัดเจนว่าผลงานของตนไปสนับสนุน หรือโต้แย้งกับกับงานวิจัยอื่นเพียงใดอย่างไรและตามด้วยสรุปผลที่ได้จากการวิจัยเป็นการชี้ให้เห็นถึง new contribution ในงานวิจัย
         2.10 ข้อเสนอแนะ แบ่งเป็น ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งถัดไป และ ข้อเสนอแนะเพื่อการนําไปใช้ (ถ้ามี)
         2.11บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นๆ ที่ใช้สําหรับค้นคว้าอ้างอิงประกอบบทความ ตามที่ได้กําหนดไว้ในเอกสารนี้

--------------------------------------------------------- 

คําแนะนําในการเขียนบทความ

▪ ชื่อเรื่อง ควรสั้นได้ใจความ หากชื่อเรื่องยาวให้เขียนชื่อเรื่องสั้น (short title) ด้วยถ้าชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ ตัวแรกของทุกคําต้องใช้ตัวใหญ่ ตัวต่อไปใช้ตัวเล็ก ทั้งนี้ยกเว้นบุพบทและ Article นําหน้าคํา ชื่อผู้เขียนบทความ ให้มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ในส่วนที่อยู่หรือสถานที่ทํางานของผู้เขียน ให้ระบุไว้ที่เชิงอรรถ

▪ บทคัดย่อ ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ เนื้อหาของบทคัดย่อควรครอบคลุมทั้งความรู้พื้นฐาน วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลและสรุป                   
▪ Key words หลังบทคัดย่อทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ โดย มี Key words ไม่เกิน 6 คํา                                             
▪ เชิงอรรถ ถ้าต้นฉบับเป็นผลงานที่ได้รับทุนอุดหนุนหรือเคยบรรยาย ณ ที่ใดมาก่อน หรือเป็นผลงานจากสถาบันอื่นที่ผู้เขียนมิได้มีตําแหน่งประจํา แต่ไปปฏิบัติงานเฉพาะเรื่องที่ทําการศึกษาเป็นการชั่วคราว ควรใส่เครื่องหมายดอกจันกํากับที่ชื่อเรื่องเพื่อแจ้งความเป็นมาของต้นฉบับนั้น การใส่เชิงอรรถ ในเนื้อเรื่องบางตอนหรือในตารางอาจมีเชิงอรรถขยายข้อความบางประการได้  ▪ การใช้เครื่องหมาย ถ้าต้องการใช้อักษรพิมพ์แบบต่างๆ ในเนื้อเรื่อง ควรใช้เครื่องหมายตามหลักสากล อาทิ ถ้าต้องการตัวเอนก็ใส่สัญประกาศ (“ ”) อักขระตัวนําก็ใส่สัญประกาศ ตัวหนาเข้มก็ใส่สัญประกาศคลื่น เป็นต้น
▪ เครื่องหมายวรรคตอน เช่น , หรือ : และ ; ให้เว้น (ตาม) ด้วย 1 เคาะ หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องหมายวรรคตอนสําหรับบทความภาษาไทย                                                                                                                                           
▪ คําทับศัพท์ ที่บัญญัติอย่างเป็นทางการหรือใช้จนเคยชินแล้วถือว่าเป็นคําไทย ดังนั้น จึงไม่ต้องเว้น 1 เคาะ ตัวอย่างของคําเหล่านี้ ได้แก่ วัคซีน ฮอร์โมน แอลกอฮอล์ ไวรัส เซลล์ ฟิล์ม เป็นต้น                                                                                   
▪ ภาพประกอบ ควรใช้อักษรบรรยายภาพด้วยภาษาเดียวกันกับเนื้อเรื่อง ภาพประกอบควรเลือกที่มีความคมและชัดเจน โดยให้ระบุเป็น ภาพที่ 1 ด้วยตัวพิมพ์หนา ขนาด 16p เว้น 1 ตัวอักษร แล้วจึงพิมพ์ ชื่อตาราง ส่วนชื่อให้พิมพ์ด้วยตัวปกติขนาด 16p                                                                                                                                                                                   
▪ การวางภาพหรือแผนภาพ ควรระวังอย่าให้กลับข้างซ้ายเป็นขวาหรือกลับหัวบนเป็นล่าง
▪ คําย่อ ไม่ควรใช้ถ้าไม่มีความจําเป็น สําหรับภาษาไทย การเขียนย่อคําต้องใช้เฉพาะที่คุ้นเคยกันดี และใช้อยู่เป็นประจําโดยทั่วไป สําหรับภาษาอังกฤษต้องใช้คําย่อที่เป็นสากล มิฉะนั้นจะต้องเขียนคําเต็มและใส่คําย่อในวงเล็บไว้ตอนแรกของเรื่อง 1 ครั้ง                                                                                                                                                                                   
▪ ตารางหรือกราฟ ถ้ามีตารางหรือกราฟ ให้พิมพ์คาว่า Table 1 หรือ Figure 1 ด้วยตัวพิมพ์หนา ขนาด 16p เว้น 1 ตัวอักษร แล้วจึงพิมพ์ชื่อตาราง ส่วนชื่อให้พิมพ์ด้วยตัวปกติขนาด 16p ส่วนรายละเอียดของตารางและรูปดูตามความเหมาะสม โดยถ้ามีหมายเหตุและแหล่งที่มาให้พิมพ์ที่ท้ายตาราง
▪ การอ้างอิงเอกสาร การอ้างอิงในบทความให้ใช้การอ้างอิงระบบนาม-ปี โดยระบุชื่อผู้แต่งตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ปีที่พิมพ์เอกสาร พร้อมกํากับเลขหน้าที่ในการอ้างอิงเอกสารนั้น ตัวอย่าง (คนดี เมืองเชียงราย, 2540 : 3)

--------------------------------------------------------- 

การเขียนบรรณานุกรม
ใช้ระบบของ APA (American Psychological Association) มีแบบแผนในการเขียน คือให้เรียงเอกสาร
ที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดตามลําดับตัวอักษร ตัวแรกของรายการที่อ้างอิง โดยยึดวิธีการเรียงลําดับตามแบบพจนานุกรม
และมีรูปแบบการเขียนบรรณานุกรม ดังนี้
1. หนังสือ
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์.
บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, ม.ล. (2527). ความสําเร็จและความล้มเหลว. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์.


2. บทความวารสาร
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้า.
ธวัช โลพันธ์ศรี. (2519). เรื่องเสียงแหบ. วารสารพยาบาล, 5(6), 216-226.


3. บทความในหนังสือพิมพ์
ผู้เขียนบทความ. (วันที่ เดือน ปี). ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้า.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (12 มกราคม 2537) ข้าวไกลนา. สยามรัฐ, หน้า 3.
- ในกรณีไม่ทราบชื่อผู้เขียนบทความให้ลงรายการดังนี้
ชื่อบทความ. (วันที่ เดือน ปี). ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้า.
ริมฝั่งแม่น้ำมูล ความขัดแย้งที่ยังไม่จบสิ้น. (22 พฤษภาคม 2537) มติชน, หน้า 21.


4. วิทยานิพนธ์
ผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์, สาขาวิชา คณะมหาวิทยาลัย
กนกวรรณ ภิบาลสุข. (2534). ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการบําบัดน้ําเสียของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.


5. แหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์) ชื่อบทความ (ถ้ามี), ชื่อเรื่อง. [ประเภทของแหล่งข้อมูล] แหล่งที่มา : ชื่อแหล่งที่ให้บริการบนอินเตอร์เน็ต. วันเดือนปีที่สืบค้นข้อมูล.
Daniel, R.T. (1995). The History of Western Music. In Britannica Online: Macropaedia.[Online]
Available : http//www.ed.com :180/cgi-bin/g : DocF=macro/5004/45/0.html. 1995, June 14.