แนวทางการพัฒนาศักยภาพการบริหารและการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนโบราณบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ศักยภาพการบริหารและการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนโบราณบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารและการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนโบราณบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการบริหารและการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนโบราณบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้หลักการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้นำชุมชนและบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 12 คน และการสนทนากลุ่มประชาชนในชุมชน จำนวน 20 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลจากการวิจัย พบว่า ชุมชนมีศักยภาพการบริหารและการจัดการในด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารและการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน พบว่า ปัจจัยการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม และปัจจัยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ชุมชนมีความพร้อมที่จะดำเนินการจัดการได้เป็นอย่างดี และแนวทางการพัฒนาศักยภาพการบริหารและการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ควรมีการวางแผนการพัฒนาให้เชื่อมโยงการดำเนินงานในทุกองค์ประกอบการท่องเที่ยวโดยชุมชน และควรมีการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เป็นทีมงานกลางทำหน้าที่ประสานงานด้านการท่องเที่ยวกับเครือข่ายการท่องเที่ยวในชุมชน เป็นต้น
Article Details
References
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2559). เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.dasta.or.th/.../3345-เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุม.
คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2555). มมส. จัดสัมมนาวิชาการชุมชนโบราณบ้านเชียงเหียน:จากประวัติศาสตร์สู่การพัฒนาการท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://www.web.msu.ac.th/ssystem/msuhotnews/detailnews.php?hm=&hotne wsid=4180&uf=&qu=#sthash.CXAiTqE9.dpuf.
ดวงพร อ่อนหวาน, จักรพงศ์ พวงงามชื่น และ อุดมลักษณ์ ดวงลกดก. (2556). การเสริมสร้าง ศักยภาพชุมชนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นจาก https://www.elibrary.trf.or.th/abstract.asp?pid=RDG5550028&fDir1.
ประเสริฐ โยธิคาร์. (2558). มรดกทางวัฒนธรรมผู้ไทยเรณูนครกับมิติการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “วิทยาการจัดการวิชาการ 2015 : วิจัยเพื่อ สร้างสรรค์เศรษฐกิจชุมชนสู่ประชาคมอาเซียน”, โดยเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ.
พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.
สุดถนอม ตันเจริญ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 1-24.