การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา ย่านเมืองเก่าภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้วิเคราะห์ถึงการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของประชาชน ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และใช้ระยะเวลาเก็บข้อมูลครั้งเดียว (cross-sectional approach) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวแทนสมาชิกครัวเรือน จำนวน 250 ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในบริเวณย่านเมืองเก่าภูเก็ตและเมืองเก่าชาร์เตอร์แบงค์ โดยการใช้สูตรการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan (1970) ในการกำหนดขนาดตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) การวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ผลการวิจัยพบว่าประชาชนในย่านเมืองเก่ามีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ภาพรวมอยู่ในระดับน้อยเกือบทุกด้าน ยกเว้นการมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง เช่น การรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยว และกิจกรรมต่างๆ ของย่านเมืองเก่าจากหน่วยงานภาครัฐ และสื่อต่าง ๆ รองลงมาคือ การได้เข้าร่วมการประชุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยวของย่านเมืองเก่าภูเก็ต
Article Details
References
ไทย. ค้นเมื่อ 13 กันยายน 2561, จาก https://msi.citu.tu.ac.th/public/upload/2.Trends%20and %20Issues%20of%20Tourism.pdf
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สรุปแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559.
ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561, จาก https://www.businesseventsthailand.com/fileadmin/user_upload/ documents/mice-publications/Thailand_Tourism_Dev_Plan.pdf
จุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2555). การวิเคราะห์หลัก “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ใน “The Public Participation
Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement” ในบริบทประเทศไทย
วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2555
จงรักษ์ อินทยนต์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาบ้านโป่งน้ำร้อน
ตำบลใหม่พัฒนา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระ ศศ.ม.เชียงใหม่:
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เทศบาลนครภูเก็ต. (2561). ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2561, จาก https://www.phuketcity.go.th.
ปัทมา สูบกำปัง. (2559). การเข้า(ให้)ถึงสิทธิชุมชน : การมีสิทธิ มีเสียงและมีส่วนในทรัพยากรธรรมชาติ และ
สิ่งแวดล้อมของชุมชนและประชาชน กรุงเทพฯ สถาบันพระปกเกล้า.
ปรีดา เจษฎาวรางกูล. (2550). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนในเขต เทศบาลเมืองคูคต
อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
พรพรรณ วีระปรียากรู. (2551). การออกแบบและการบริหารจดการสถาปัตยกรรมเชิงมาตรการเพื่อพัฒนา
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารท่องเที่ยวไทย ฉบับที่ 2 ปี 2551
สุรีพร พงษ์พานิช. (2544). การมีส่วนร่วมของประชาชน" บทบาทใหม่ของประชาชนกับการท่องเที่ยว
อย่างยั่งยืน. ค้นเมื่อ 13 มกราคม 2561, จาก https://conservation.forest.ku.ac.th/.
สุดถนอม ตันเจริญ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ของชุมชนบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ13(2), 1-24
สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครภูเก็ต. (2561). ข้อมูลทั่วไปและงานทะเบียนราษฎร จังหวัดภูเก็ต
Andereck, K. L., & Nyaupane, G. P. (2011). Exploring the nature of tourism and quality of life
perceptions among residents. Journal of Travel Research, 50(3), 248-260.
Andersson, T. D., & Lundberg, E. (2013). Commensurability and sustainability: Triple impact
assessments of a tourism event. Tourism Management, 37, 99-109.
Armstrong, H & Read, R. (2000). Comparing the economic performance of the dependent
territories and sovereign microstates. Economic development and cultural change, 48(2),
258-306.
Balaguer, J & Cantavella-Jorda, M. (2002). Tourism as a long-run economic growth factor; the
Spanish case. Applied Economics, 34, 877-884.
Butler, R. (1998). Sustainable tourism-looking backwards in order to progress. Sustainable
tourism: a geographical perspective., 25-34
Cañizares, S. M. S., Tabales, J. M. N., & García, F. J. F. (2014). Local residents’ attitudes towards
the impact of tourism development in Cape Verde. Tourism & Management Studies, 10(1), 87-96.
Creighton, J. L. (1992). Involving Citizens in Community Decision making: A Guidebook.
Washington, DC: Program on Community Problem Solving.
Creighton, J. L. (2005). The Public Participation Handbook: Making Better Decisions Through
Citizen Involvement. San Francisco: Jossey Bass.