ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว

Main Article Content

เมทินี ทนงกิจ
ฐาศุกร์ จันประเสริฐ
ศยามล เอกะกุลานันต

บทคัดย่อ

การศึกษากระบวนการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการทำงานด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรในวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว มีผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการวิจัย 8 คน จากการเลือกแบบเจาะจง ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตรวจสอบสามเส้า ผลการวิจัยสรุปได้ว่า


     การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบ่งได้ 4 ลักษณะ คือ (1) การนำทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่และมีเอกลักษณ์เฉพาะมาให้นักท่องเที่ยวเรียนรู้ (2) รูปแบบกิจกรรมที่ให้นักท่องเที่ยวพูดคุยแลกเปลี่ยนและลงมือทำด้วยตนเอง (3) บทบาทของผู้จัดการท่องเที่ยวเป็นผู้บอกเล่าเรื่องราวและดำเนินกิจกรรม และ (4) ผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดการท่องเที่ยวเอื้อต่อเจ้าของพื้นที่และผู้มาเยือน


     กระบวนการทำงานด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นการเตรียมการ บุคลากรจะต้องชี้แจงรายละเอียดที่สำคัญให้ผู้มาเยือนได้เตรียมตัว และมอบหมายงานตามบทบาทหน้าที่ (2) ขั้นการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บุคลากรจะทำหน้าที่ตามข้อตกลง มาตรฐานโฮมสเตย์และหลักการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (3) ขั้นการประเมินผล บุคลากรจะให้ผู้มาเยือนประเมินความพึงพอใจและให้ข้อเสนอแนะจากการเข้าร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการทำงานต่อไป


     ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการทำงานด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ (1) การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก (2) การบริหารจัดการภายในองค์การ (3) คุณลักษณะของบุคลากร และปัจจัยร่วม 2 ประการ คือ (1) ความพร้อมด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ (2) ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้จากปัญหา


     จากผลการวิจัยข้างต้น วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยว การบริหารจัดการองค์การประเภทวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว และการพัฒนาความสามารถในการทำงานของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว. (2561). ภาพบรรยากาศกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (ออนไลน์).
https://www.facebook.com/ncgroupnc. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2561.
คณะทำงานการรับรองแหล่งท่องเที่ยวชุมชน. (2555). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว
อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง ปี 2555-2558.
กรุงเทพมหานคร: งานท่องเที่ยวโดยชุมชน อพท.
ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลน้ำเชี่ยว. (2554). ข้อมูลชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ตำบลน้ำเชี่ยว. ตราด: ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลน้ำเชี่ยว.
ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). มารู้จัก Competency กันเถอะ. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทย
นานาชาติ, 13(2): 25-46.
ธนกฤต ภัทร์ธราธร. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Creative Tourism. กรุงเทพมหานคร:
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
พิเชฐ สายพันธ์ และคณะ. (2557). เกณฑ์คุณสมบัติของโครงสร้างการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: บทเรียนจาก
ประเทศไทย (Assessment Criteria of Creative Tourism: Lessons Learned from Thailand).
กรุงเทพมหานคร: งานท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อพท.
ไพวรรณ์ เงาศรี. (2555). แนวทางการท่องเที่ยว: การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารวิจัยรำไพพรรณี,
7(1): 71-79.
ภัทราพร เกษสังข์. (2559). การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัยมณี แก้วสง่า และนิศาชล จำนงศรี. (2012). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: ทางเลือกใหม่ของการ
ท่องเที่ยวไทย (Creative Tourism: A New Choice of Thai Tourism). Suranaree Journal of
Social Science, 6(1): 91-109.
เมทินี ทนงกิจ และบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. (2560, 24 ตุลาคม). ลักษณะ กระบวนการ
ทำงาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. การสนทนากลุ่ม
วิชสุดา ร้อยพิลา และปรีดา ไชยา. (2558). องค์ประกอบของทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยว
เชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในประบรมราชูปถัมภ์ สาขา
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(3): 197-211.
ศลิษา ธีรานนท์ และประกาศิต โสภณจรัสกุล. 2559. การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: ทางเลือก-ทางรอดของ
การท่องเที่ยวไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 8(2): 206-215.
สุดถนอม ตันเจริญ (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา ครั้งที่ 1 (16 มิถุนายน 2560).
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2558). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Creative Tourism Thailand.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน).
สุรัตนา ภูมิมาโนช. (2559, 12 พฤศจิกายน). ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว. บทสัมภาษณ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). GDP ไตรมาสที่สี่ และทั้งปี 2560.
กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเชี่ยว. (2558). แผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอ
แหลมงอบ จังหวัดตราด. ตราด: องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเชี่ยว.
อพท. (2555). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (ออนไลน์).
http://www.dasta.or.th/th/component/k2/item/489-489. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2559.
__________. (2558ก). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism). กรุงเทพมหานคร: โคคูน แอนด์ โค.
__________. (2558ข). คู่มือเที่ยวชุมชน ค้นของดีไปกับ อพท. บ้านน้ำเชี่ยว เที่ยวครั้งเดียวไม่อิ่ม. กรุงเทพมหานคร: งานท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อพท.
__________. (2559). สุรัตนา ภูมิมาโนช หญิงเหล็กแห่งบ้านน้ำเชี่ยว. นิตยสารเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, 2(4): 13-15.
อลงกรณ์ มีสุทธา และสมิต สัชฌุกร (2555). การประเมินผลการปฏิบัติงานโดยใช้ Competency. พิมพ์
ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
อาชัญญา รัตนอุบล. (2559). การเรียนรู้ของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Arthur,Jr.,W., Bell,S.T., Villado,A.J., & Doverspike,D. (2006). The Use of Person-Organization fit
in Employment Decision Making: An Assessment of Its Criterion-Related Validity. Journal of
Applied Psychology, 91(4): 786-801.
Bronfenbrenner, U. & Ceci,S.J. (1994). Nature-Nurture Reconceptualized in Developmental
Perspective: A Bioecological Model. Psychological Review, 101(4): 568-586.
Boyatzis,R.E. (2008). Competencies in the 21st Century. Journal of Management
Development, 27(1): 5-12.
__________. (2011). Managerial and Leadership Competencies: A Behavioral Approach to
Emotional, Social and Cognitive Intelligence. Vision, 15(2): 91-100.
Cascio,W.H. & Asuinis,H. (2011). Applied Psychology in Human Resource Management. 7th
Ed. New Jersey: Pearson Education.
Drenth,P.J., Thierry,H., & Wolf,C.J. (1998). Handbook of Work and Organizational
Psychology: Personal Psychology. 2nd Ed. UK: Psychology Press.
Knowles,M.S. (1980). The Modern Practice of Adult Education: From Pedagogy to
Andragogy. Revised and Update Edition. Michigan: Association Press.
Kolb,A.Y. & Kolb,D.A. (2008). Experiential Learning Theory: A Dymanic, Holistic Approach to
Management Learning, Education and Development. The revised paper appears in
Armstrong,S.J. & Fukami,C. (Eds.). Handbook of Management Learning, Education and
Development. London: Sage Pulication.
Kolb,D.A., Boyatzis,R.E. & Mainemelis,C. (2000). Experiential Learning Theory: Previous Research
and New Directions. The revised paper appears in Sternberg,R.J. & Zhang,L.F. (Eds.)
Perspectives on Cognitive, Learning, and Thinking Styles. New Jersey: Lawrence Erlbaum
Mello,J.A. (2006). Strategic Human Resource Management. 2nd Ed. USA: South-Western
Cengage Learning.
Muchinsky,P.M. (1999). Psychology Applied to Work. 6th Ed. USA: Wadworth Thomson
Learning.
Renkert,E.L. (2005). From Father to Child: An Application of the Process-Person-Context-
Time Model. Ph.D. Dissertation (Social Work), The University of Tennesses.
Richards,G. (2014). Creativity and Tourism in the City. Current Issues in Tourism, 17(2): 119-
144.
Richards,G. & Marques. (2012). Exploring Creative Tourism: Editors Introduction. Journal of
Tourism Consumption and Practice, 4(2): 1-11.
Richards,G & Wilson,J. (2006). Developing Creativity in Tourist Experiences: A Solution to the
Serial Reproduction of Culture. Tourism Management, 27(2006): 1209-1223.
Salman,D. & Uygur,D. (2010). Creative Tourism and Emotional Labor: An Investigatory Model
of Possible Interactions. International Journal of Culture, Tourism, and Hospitality
Research, 4(3): 186-197.
Schultz,D. & Schultz,S.E. (2006). Psychology & Work Today. 9th Ed. New Jersey: Pearson
Prentice Hall.
Tudge,J.H., Mokrova,I., Hatfield,B.E., Karnik,R.B. (2009). Uses and Misuses of Bronfenbrenner’s
Bioecological Theory of Human Development. Journal of Family Theory & Review,
1(2009): 198-210.