คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง
คําแนะนําสําหรับผู้เขียนบทความ
1) วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติหรือ Journal of International Thai Tourism เป็นวารสาร รายไตรมาส มีกําหนดตีพิมพ์วารสาร จํานวน 2 ฉบับ ต่อปี คือ ฉบับที่ 1 รอบเดือนมกราคม - เดือนมิถุนายน และฉบับที่ 2 รอบเดือน กรกฏาคม - เดือนธันวาคม รับบทความทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
2) เรื่องที่จะส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ต้องเป็นงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
3) บทความเป็นประเภทบทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (journal article) รวมถึงบทความปริทัศน์(review article) บทวิจารณ์หนังสือ (book review) และบทวิจารณ์บทความ (article review)
4) บทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์จะได้รับการประเมินจากกองบรรณาธิการและผู้ประเมินบทความ 3 ท่าน ผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นสิ้นสุด
5) บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
---------------------------------------------------------
รูปแบบและการจัดพิมพ์
1) เขียนบทความด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ขนาดมาตรฐาน A4 มีความยาวไม่เกิน 20 หน้า (รวมบรรณานุกรม) ด้วยโปรแกรม Microsoft Word for Windows ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 (ไทย)หรือ Time New Romans ขนาด 12 (Eng) ในส่วนเนื้อหา
• หัวข้อหลักให้ใช้ตัวหนา TH SarabunPSK ขนาด 18 (ไทย) หรือ Time New Romans ขนาด 14 (Eng) พิมพ์ชิดซ้ายในหน้ากระดาษ
• หัวข้อย่อยให้ใช้ตัวหนา TH SarabunPSK ขนาด 16 (ไทย) หรือ Time New Romans ขนาด 12 (Eng)เว้น 1 ระยะ จากหัวข้อหลัก
• เว้นระยะห่างจากขอบกระดาษซ้าย 2.5 นิ้ว ด้านขวา 2.5 นิ้ว เว้นขอบกระดาษด้านบน 2.5 นิ้ว และด้านล่าง 2 นิ้ว
2) กรณีภาษาไทย: ชื่อเรื่องพิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษด้วย ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด18 (ตัวหนา) ชื่อผู้เขียนพิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษด้วยตัวอักษรธรรมดาขนาด 16
3) กรณีภาษาอังกฤษ: ชื่อเรื่องพิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษด้วย Time New Romans หนาขนาด 14 ชื่อผู้เขียนพิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษด้วยตัวอักษรธรรมดาขนาด 12
4) ในส่วนแรกของบทความต้องมีองค์ประกอบ ได้แก่ชื่อเรื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนทุกคน ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ พร้อมระบุอีเมล, ตําแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) คุณวุฒิสูงสุด และ สถานที่ทํางานของผู้เขียนทุกคน
5) บทคัดย่อ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ความยาวไม่น้อยกว่า 150 คําและไม่เกิน 250 คํา และคําสําคัญ (keywords) จํานวน 3-5 คํา
---------------------------------------------------------
รายละเอียดของบทความ ประกอบด้วย
1. บทความวิชาการ
ผู้เขียนสามารถจัดทํารูปแบบการนําเสนอได้ตามความเหมาะสม แต่เนื้อหาต้องนําเสนอองค์ความรู้ใหม่ที่น่าสนใจในด้านที่ทําการศึกษา ที่มีการวิเคราะห์วิจารณ์ประเด็นต่างๆ ตาม หลักวิชาการโดยมีหัวข้อประกอบด้วย
1.1 ชื่อเรื่องและชื่อผู้เขียนบทความ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรเป็นชื่อเรื่องที่สั้น กระชับได้ใจความตรงกับเนื้อหา ตามด้วยชื่อผู้เขียนบทความ ให้มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ในส่วนที่อยู่หรือสถานที่ทํางานของผู้เขียน ให้ระบุไว้ที่เชิงอรรถ
1.2 บทคัดย่อ (Abstract ) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยจัดทําเป็นร้อยแก้วย่อหน้าเดียวสรุปเนื้อหาสาระสําคัญของบทความมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ ขนาดมาตรฐาน A4 โดยพิมพ์บทคัดย่อภาษาไทยก่อนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract)
1.3 บทนํา กล่าวถึงที่มา ความจําเป็นและความสําคัญของเรื่อง
1.4 เนื้อหา นําเสนอข้อมูลวิชาการหรือแนวคิดทฤษฎีที่ทําการศึกษาในประเด็นต่างๆ
1.5 องค์ความรู้ใหม่จากบทความวิชาการ (New academic article Knowledge) คือ การนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากบทความวิชานี้
1.6 สรุปผล สรุปผลที่ได้จากการบทความนี้รวมถึงข้อเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการนําบทความวิชาการนี้ไปใช้
1.7 บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นๆ ที่ใช้สําหรับค้นคว้าอ้างอิงประกอบบทความ ตามที่ได้กําหนดไว้ในเอกสารนี้
2. บทความวิจัย
ในเนื้อหาจะต้องประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
2.1 ชื่อเรื่องและชื่อผู้เขียนบทความ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรเป็นชื่อเรื่องที่สั้น กระชับได้ใจความตรงกับเนื้อหา ตามด้วยชื่อผู้เขียนบทความ ให้มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ในส่วนที่อยู่หรือสถานที่ทํางานของผู้เขียน ให้ระบุไว้ที่เชิงอรรถ
2.2 บทคัดย่อ (Abstract ) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยจัดทําเป็นร้อยแก้วย่อหน้าเดียวสรุปเนื้อหาสาระสําคัญของบทความมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ ขนาดมาตรฐาน A4 โดยพิมพ์บทคัดย่อภาษาไทยก่อนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract)
2.3 ความสําคัญและที่มาของปัญหา กล่าวถึงที่มา ความจําเป็นและความสําคัญของเรื่องที่ทําวิจัย
2.4 วัตถุประสงค์ กล่าวถึงเป้าหมายหรือผลลัพธ์ของงานวิจัยที่ต้องการศึกษา
2.5 ทบทวนวรรณกรรม ระบุถึงแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัย
2.6 กรอบแนวคิดการวิจัย ควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และมาจากแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย
2.7 ระเบียบวิธีการวิจัย ควรอธิบายวิธีการดําเนินการวิจัย โดยกล่าวถึงแหล่งที่มาของข้อมูลกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วิธีการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ขอบเขตการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลและระเบียบวิธีการทางสถิติ
2.8 ผลการศึกษาวิจัย นําเสนอสิ่งที่ได้จากการวิจัย ตามลําดับขั้นตอนในการวิจัย
2.9 การอภิปรายและสรุปผลการวิจัย เป็นการเชื่อมโยงผลการศึกษากับแนวคิดทฤษฎีหรืองานวิจัยต้องสรุปให้ชัดเจนว่าผลงานของตนไปสนับสนุน หรือโต้แย้งกับกับงานวิจัยอื่นเพียงใดอย่างไรและตามด้วยสรุปผลที่ได้จากการวิจัยเป็นการชี้ให้เห็นถึง new contribution ในงานวิจัย
2.10 องค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัย (New Research Knowledge) หมายถึง การกลั่นกรองข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าวิจัยในครั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ โดยอาศัยการเปรียบเทียบผลลัพธ์ของงานวิจัยตนเองกับงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อระบุข้อค้นพบที่มีความแตกต่างและยังไม่เคยถูกนำเสนอมาก่อน ข้อมูลที่ได้อาจจะถูกนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย อาทิ แผนภาพ กราฟ ผังความคิด หรือโมเดล พร้อมทั้งมีการอธิบายกระบวนการ ขั้นตอน วิธีดำเนินการ ตลอดจนคุณค่าและแนวทางการในการนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อส่งเสริม พัฒนา ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงในทุกๆระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับสังคม หรือระดับองค์กร เป็นต้น
2.11 ข้อเสนอแนะ แบ่งเป็น ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งถัดไป และ ข้อเสนอแนะเพื่อการนําไปใช้ (ถ้ามี)
2.12บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นๆ ที่ใช้สําหรับค้นคว้าอ้างอิงประกอบบทความ ตามที่ได้กําหนดไว้ในเอกสารนี้
---------------------------------------------------------
คําแนะนําในการเขียนบทความ
▪ ชื่อเรื่อง ควรสั้นได้ใจความ หากชื่อเรื่องยาวให้เขียนชื่อเรื่องสั้น (short title) ด้วยถ้าชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ ตัวแรกของทุกคําต้องใช้ตัวใหญ่ ตัวต่อไปใช้ตัวเล็ก ทั้งนี้ยกเว้นบุพบทและ Article นําหน้าคํา ชื่อผู้เขียนบทความ ให้มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ในส่วนที่อยู่หรือสถานที่ทํางานของผู้เขียน ให้ระบุไว้ที่เชิงอรรถ
▪ บทคัดย่อ ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ เนื้อหาของบทคัดย่อควรครอบคลุมทั้งความรู้พื้นฐาน วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลและสรุป
▪ Key words หลังบทคัดย่อทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ โดย มี Key words ไม่เกิน 6 คํา
▪ เชิงอรรถ ถ้าต้นฉบับเป็นผลงานที่ได้รับทุนอุดหนุนหรือเคยบรรยาย ณ ที่ใดมาก่อน หรือเป็นผลงานจากสถาบันอื่นที่ผู้เขียนมิได้มีตําแหน่งประจํา แต่ไปปฏิบัติงานเฉพาะเรื่องที่ทําการศึกษาเป็นการชั่วคราว ควรใส่เครื่องหมายดอกจันกํากับที่ชื่อเรื่องเพื่อแจ้งความเป็นมาของต้นฉบับนั้น การใส่เชิงอรรถ ในเนื้อเรื่องบางตอนหรือในตารางอาจมีเชิงอรรถขยายข้อความบางประการได้
▪ การใช้เครื่องหมาย ถ้าต้องการใช้อักษรพิมพ์แบบต่างๆ ในเนื้อเรื่อง ควรใช้เครื่องหมายตามหลักสากล อาทิ ถ้าต้องการตัวเอนก็ใส่สัญประกาศ (“ ”) อักขระตัวนําก็ใส่สัญประกาศ ตัวหนาเข้มก็ใส่สัญประกาศคลื่น เป็นต้น
▪ เครื่องหมายวรรคตอน เช่น , หรือ : และ ; ให้เว้น (ตาม) ด้วย 1 เคาะ หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องหมายวรรคตอนสําหรับบทความภาษาไทย
▪ คําทับศัพท์ ที่บัญญัติอย่างเป็นทางการหรือใช้จนเคยชินแล้วถือว่าเป็นคําไทย ดังนั้น จึงไม่ต้องเว้น 1 เคาะ ตัวอย่างของคําเหล่านี้ ได้แก่ วัคซีน ฮอร์โมน แอลกอฮอล์ ไวรัส เซลล์ ฟิล์ม เป็นต้น
▪ ภาพประกอบ ควรใช้อักษรบรรยายภาพด้วยภาษาเดียวกันกับเนื้อเรื่อง ภาพประกอบควรเลือกที่มีความคมและชัดเจน โดยให้ระบุเป็น ภาพที่ 1 ด้วยตัวพิมพ์หนา ขนาด 16p เว้น 1 ตัวอักษร แล้วจึงพิมพ์ ชื่อตาราง ส่วนชื่อให้พิมพ์ด้วยตัวปกติขนาด 16p
▪ การวางภาพหรือแผนภาพ ควรระวังอย่าให้กลับข้างซ้ายเป็นขวาหรือกลับหัวบนเป็นล่าง
▪ คําย่อ ไม่ควรใช้ถ้าไม่มีความจําเป็น สําหรับภาษาไทย การเขียนย่อคําต้องใช้เฉพาะที่คุ้นเคยกันดี และใช้อยู่เป็นประจําโดยทั่วไป สําหรับภาษาอังกฤษต้องใช้คําย่อที่เป็นสากล มิฉะนั้นจะต้องเขียนคําเต็มและใส่คําย่อในวงเล็บไว้ตอนแรกของเรื่อง 1 ครั้ง
▪ ตารางหรือกราฟ ถ้ามีตารางหรือกราฟ ให้พิมพ์คาว่า Table 1 หรือ Figure 1 ด้วยตัวพิมพ์หนา ขนาด 16p เว้น 1 ตัวอักษร แล้วจึงพิมพ์ชื่อตาราง ส่วนชื่อให้พิมพ์ด้วยตัวปกติขนาด 16p ส่วนรายละเอียดของตารางและรูปดูตามความเหมาะสม โดยถ้ามีหมายเหตุและแหล่งที่มาให้พิมพ์ที่ท้ายตาราง
▪ การอ้างอิงเอกสาร การอ้างอิงในบทความให้ใช้การอ้างอิงระบบนาม-ปี โดยระบุชื่อผู้แต่งตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ปีที่พิมพ์เอกสาร พร้อมกํากับเลขหน้าที่ในการอ้างอิงเอกสารนั้น ตัวอย่าง (คนดี เมืองเชียงราย, 2540 : 3)
---------------------------------------------------------
การเขียนบรรณานุกรม
ใช้ระบบของ APA (American Psychological Association) มีแบบแผนในการเขียน คือให้เรียงเอกสาร
ที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดตามลําดับตัวอักษร ตัวแรกของรายการที่อ้างอิง โดยยึดวิธีการเรียงลําดับตามแบบพจนานุกรม
และมีรูปแบบการเขียนบรรณานุกรม ดังนี้
1. หนังสือ
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์.
บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, ม.ล. (2527). ความสําเร็จและความล้มเหลว. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์.
2. บทความวารสาร
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้า.
ธวัช โลพันธ์ศรี. (2519). เรื่องเสียงแหบ. วารสารพยาบาล, 5(6), 216-226.
3. บทความในหนังสือพิมพ์
ผู้เขียนบทความ. (วันที่ เดือน ปี). ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้า.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (12 มกราคม 2537) ข้าวไกลนา. สยามรัฐ, หน้า 3.
- ในกรณีไม่ทราบชื่อผู้เขียนบทความให้ลงรายการดังนี้
ชื่อบทความ. (วันที่ เดือน ปี). ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้า.
ริมฝั่งแม่น้ำมูล ความขัดแย้งที่ยังไม่จบสิ้น. (22 พฤษภาคม 2537) มติชน, หน้า 21.
4. วิทยานิพนธ์
ผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์, สาขาวิชา คณะมหาวิทยาลัย
กนกวรรณ ภิบาลสุข. (2534). ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการบําบัดน้ําเสียของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.
5. แหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์) ชื่อบทความ (ถ้ามี), ชื่อเรื่อง. [ประเภทของแหล่งข้อมูล] แหล่งที่มา : ชื่อแหล่งที่ให้บริการบนอินเตอร์เน็ต. วันเดือนปีที่สืบค้นข้อมูล.
Daniel, R.T. (1995). The History of Western Music. In Britannica Online: Macropaedia.[Online]
Available : http//www.ed.com :180/cgi-bin/g : DocF=macro/5004/45/0.html. 1995, June 14.