เพลงเรือ: กระบวนการสืบสานและสร้างสรรค์เพื่องานสาธารณศิลป์ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19
คำสำคัญ:
เพลงเรือ, สาธารณศิลป์, การทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์, การสืบสาน, การสร้างสรรค์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สืบสานเพลงเรือในเงื่อนไขการรักษาคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมเพลงเรือจากแหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลำตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลาง พ่อหวังเต๊ะ-แม่ศรีนวล โดยการถ่ายทอดสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ 2) สร้างสรรค์กลอนเพลงเรือที่เหมาะสมกับการแสดงในงานสาธารณศิลป์ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ผ่านแนวคิดสุนทรียสัมพันธ์และทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์โดยใช้วิธีวิจัยและพัฒนา ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) การสืบสานเพลงเรือจากแหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลำตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลาง พ่อหวังเต๊ะ-แม่ศรีนวล ได้แก่ 1.1) ลักษณะการร้องเพลงเรือของแม่ศรีนวล 1.2) ลำดับเพลงในการฝึกหัดเริ่มต้นและความรู้เรื่องกลอนเพลง 1.3) การฝึกหัดและการฝึกซ้อมเพื่อการแสดง 2) การสร้างสรรค์กลอนเพลงเรือที่เหมาะสมกับการแสดงตามเงื่อนไขสาธารณศิลป์ ณ คลองมหาสวัสดิ์ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เกิดกลอนใหม่ที่ใช้ในการแสดง ได้แก่ กลอนไลออกตัวที่ปรับปรุงใหม่ให้เหมาะกับเยาวชนฝึกหัด กลอนลอเที่ยวศาลายา กลอนลอสถานการณ์โควิด ผู้วิจัยให้ข้อเสนอแนะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบและภาคท้องถิ่นว่า ควรมีการส่งเสริมงานสาธารณศิลป์ โดยยึดโยงกับวิถีชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ การสร้างเครือข่ายศิลปินหลากหลายแขนง และหาวิธีจัดการแสดงในรูปแบบใหม่ ๆ ผลงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย เปิดพื้นที่การเรียนรู้สำหรับเยาวชน ศิลปิน ผู้ชม และมาตรการป้องกันโรคระบาดเพื่อไม่ให้เกิดการว่างงานของศิลปินและสังคมได้ใช้ประโยชน์จากศิลปะในสถานการณ์ไม่ปกติ ควรมีการผลักดันนโยบายสาธารณะเพื่อความยั่งยืนในเรื่องสาธารณศิลป์
Downloads
References
กิตวิชัย ไชยพรศิริ. นายอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. สัมภาษณ์วันที่ 26 สิงหาคม 2565.
นันธิดา จันทรางศุ และคณะ. (2566). ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสาธารณศิลป์: การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อวิถีความเหมาะสมใหม่ในการขับเคลื่อนสังคมวัฒนธรรมหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19. กรุงเทพฯ: หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.).
นิรามัย นิมา และคณะ. (ม.ป.ป.). คู่มือการเรียนรู้ลำตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลาง. นครปฐม: แหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลำตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลาง พ่อหวังเต๊ะ-แม่ศรีนวล.
เมตตา สุวรรณศร. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สัมภาษณ์วันที่ 13 พฤษภาคม 2566.
วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร. (2560, มกราคม-เมษายน). การสร้างสรรค์ผลงานโครงการสาธารณศิลป์เพื่อนิเวศสุนทรีย์ในวิถีวัฒนธรรมข้าวไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts). 10(1): 2054-2076.
วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร. (2564, มกราคม-มิถุนายน). สาธารณศิลป์เพื่อนิเวศสุนทรีย์. วารสารศิลปกรรมสาร. 14(1): 107-131.
วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร. ศิลปินอิสระ. สัมภาษณ์วันที่ 19 มีนาคม 2563.
ศรีนวล ขำอาจ. ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-ลำตัด) พุทธศักราช 2562. แหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลำตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลาง พ่อหวังเต๊ะ-แม่ศรีนวล. สัมภาษณ์วันที่ 21 เมษายน 2565, 4 พฤษภาคม 2565, 14 มิถุนายน 2565, 19 มิถุนายน 2565.
สำราญ ศรีคำมูล. (2565). สัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย.
อรรฆย์ ฟองสมุทร. (2551, มกราคม-มีนาคม). ศิลปะสาธารณะ: สภาวการณ์ของเมืองกรุง. วารสารนักบริหาร [Executive Journal]. 28(1): 100-103. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_mar_08/pdf/EXECUTIVE%20JOURNAL28_1_102-105.pdf
เอนก นาวิกมูล. (2527). เพลงนอกศตวรรษ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
เอนก นาวิกมูล. (2528). สารานุกรมเพลงพื้นบ้านภาคกลาง. หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นางทองอยู่ รักษาผล. กรุงเทพฯ: พิฆเนศ.
Agnew, Marie. (1922). The auditory imagery of great composers. Psychological Monographs. 31(1): 279-287. Retrieved May 3, 2023, from https://doi.org/10.1037/h0093171
Ashworth, Gregory John; & Voogd, Henk. (1990). Selling the City. London: Belhaven.
Association for Public Art. (2020). What is public art?. Retrieved May 3, 2023, from https://www.association forpublicart.org/what-is-public-art/
Avraham, Eli. (2004, December). Media strategies for improving an unfavorable city image. Cities. 21(6): 471-479. Retrieved May 5, 2023, from https://doi.org/10.1016/j.cities.2004.08.005
Bailes, Freya; & Bishop, Laura. (2012). Musical Imagery in the Creative Process. In The Act of Musical Composition. Collins, Dave, ed. pp. 53-79. Farnham: Ashgate.
Engeström, Yrjö. (2001). Expansive Learning at Work: Toward an activity theoretical reconceptualization. Journal of Education and Work. 14(1): 133-156. Retrieved May 3, 2023, from https://doi.org/10.1080/13639080020028747
Fischer, Gerhard; Giaccardi, Elisa; Eden, Hal; Sugimoto, Masanori; & Ye, Yunwen. (2005, October). Beyond binary choices: Integrating individual and social creativity. International Journal of Human Computer Studies. 63(4-5): 482-512. Retrieved May 5, 2023, from https://doi.org/10.1016/j.ijhcs.2005.04.014
Grant, Natalie. (2010). Music and Collaboration: Rapport, Leadership and the Role of the Individual in Collaborative Processes. Master’s thesis (Music Performance). University of Melbourne. Retrieved May 5, 2023, from https://doi.org/10.13140/2.1.5031.6480
Hall, Tim; & Robertson, Iain. (2001). Public Art and Urban Regeneration: Advocacy, claims and critical debates. Landscape Research. 26(1): 5-26. Retrieved May 5, 2023, from https://doi.org/10.1080/01426390120024457
Hall, Tim; & Smith, Chereen. (2005). Public art in the city: meanings, values, attitudes and roles. In Interventions: Advances in Art and Urban Futures Volume 4. Miles, Malcolm; & Hall, Tim, eds. pp. 175-179. Bristol: Intellect Books.
Hargreaves, David J.; Hargreaves, Jonathan James; & North, Adrian C. (2012). Imagination and creativity in music listening. In Musical imaginations. pp. 156-172. Oxford, UK: Oxford University Press.
Wansborough, Matthew; & Mageean, Andrea. (2000). The Role of Urban Design in Cultural Regeneration. Journal of Urban Design. 5(2): 181-197. Retrieved May 5, 2023, from https://doi.org/10.1080/713683962
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ