การศึกษากระบวนการสร้างฟืมทอผ้าที่ทำด้วยไม้ในวัฒนธรรมลาวครั่งในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วุฒิไกร ศิริผล สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ลาวครั่ง, ฟืมไม้, ทอผ้า, ทอมือ, หัตถกรรม

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้มีที่มาจากสภาวะเสี่ยงต่อการสูญหายของความรู้ด้านการผลิตฟืมทอผ้าลาวครั่งแบบดั้งเดิม เนื่องด้วยการใช้งานฟืมไม้มีจำนวนน้อย และผู้ที่มีความรู้ในการสร้างฟืมไม้เป็นผู้สูงอายุ โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาและบันทึกกระบวนการสร้างฟืมทอผ้าที่ทำจากไม้ทั้งกระบวนการอย่างละเอียด และ 2) เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจถึงบริบทและความสัมพันธ์ของฟืมทอผ้าที่ทำด้วยไม้กับมิติของสังคม วัฒนธรรม และด้านการทอผ้าในเชิงปฏิบัติ  ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษากลุ่มช่างทอผ้าลาวครั่งและช่างฝีมือในอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 26 คน ใช้เครื่องมือการวิจัย อาทิ การสัมภาษณ์ การฝึกปฏิบัติเรียนรู้จากครูช่าง การบันทึกภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว นำมาวิเคราะห์ข้อมูล เรียบเรียงและจัดไว้ในฐานข้อมูลออนไลน์แบบเปิดของพิพิธภัณฑ์บริติช สหราชอาณาจักร ผลการวิจัยคือฐานข้อมูลภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หนังสือและเอกสารประกอบคำอธิบายกระบวนการทำฟืมไม้อย่างละเอียด จากการสาธิตการทำฟืมไม้ของนางจำปี ธรรมศิริ ประกอบกับบทวิเคราะห์เกี่ยวกับฟืมไม้ แสดงความสัมพันธ์อย่างแนบชิดระหว่างคนกับชุมชน และคนกับธรรมชาติ ทั้งยังมีส่วนสำคัญในการผลิตสิ่งทอที่แสดงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ งานวิจัยฉบับนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษากระบวนการทำเครื่องมือทอผ้าแบบดั้งเดิม รวมไปถึงฐานข้อมูลระดับนานาชาติที่จะเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับนักวิชาการ นักวิจัย ช่างทอผ้า และผู้ที่มีความสนใจผ้าทอพื้นถิ่นได้ในอนาคต

References

เกรียงไกร เกิดศิริ. (2553). ภูมิหลังการตั้งถิ่นฐานกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว และการเคลื่อนย้ายสู่ประเทศไทย. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย, (7), 83-131.

ธารา ชีสแมน. (2536). ผ้าทอลาวครั่ง. กรุงเทพ ฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ. (2559). ผ้าทอมือของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว และกะเหรี่ยงโป อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี. กรุงเทพ ฯ: มูลนิธิมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษบา หินเธาว์. (2557). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อหาแนวทางอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาผ้าทอลาวครั่ง. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 27(3), 132-144.

ปัณฑิตา ตันติวงศ์. (2564). ทอผ้า ผ้าทอ. กรุงเทพ ฯ: โครงการสร้างเสริมศักยภาพในการออกแบบสิ่งทอและเครื่องประดับ ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด. (ม.ป.ป.). วิธีทำฟืมทอผ้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566. จาก www.virtualmuseum.finearts.go.th/roiet/index.php/th/คลังข้อมูล-รูปภาพ,-วิดีโอ,-อีบุ๊ค/วิดีโอ/158-present4-2.html.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2559). พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ. กรุงเทพ ฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

วุฒิไกร ศิริผล. (2565). การทอผ้าลาวครั่ง. กรุงเทพ ฯ: สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมทรง บุรุษพัฒน์, สุจริตลักษณ์ ดีผดุง, สุมิตรา สุรรัตน์เดชา, ณรงค์ อาจสมิติ, ปัทมา พัฒน์พงษ์ และ พิเชฐ สีตะพงศ์. (2554). แผนที่กลุ่มชาติพันธุ์และภาษาในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 30(2), 83-114.

สิทธิชัย สมานชาติ. (2540). สิ่งทอในพระพุทธศาสนาของกลุ่มวัฒนธรรมลาวครั่ง. กรุงเทพ ฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์, สุจริตลักษณ์ ดีผดุง, เอกพงศ์ สุวรรณเกษร์, อภิญญา บัวสรวง, อิสระ ชูศรี, โสภนา ศรีจำปา, มยุรี ถาวรพัฒน์, อมร ทวีศักดิ์ และ ประภาศรี ดำสอาด. (2547). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อรศิริ ปาณินท์. (2555). การปรับตัวในบริบทใหญ่ที่แตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลาง. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, (26), 201-224.

อรศิริ ปาณินท์. (2562). การอ่านความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ ไท-ลาวในพื้นที่ลุ่มนํ้าภาคกลางของไทยผ่านการศึกษาผังเรือนพักอาศัย. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 34(1), 35-52.

Baral, B, Divyadarshan C. S. and Tejesh, J. (n.d.). Wooden Reeds - Rami Reddy Palem. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566. จาก http://www.dsource.in/resource/wooden-reeds-rami-reddy-palem/making-process.

Broudy, E. (1979). The Book of Looms: A History of the Handloom from Ancient Times to the Present. New York: Van Nostrand Reinhold Co.,.

Buckley, C.D. and Boudot, E. (2017). The evolution of an ancient technology, Royal Society Open Science. 4: 170208, pp. 1-22.

Conway, S. (1992). Thai Textiles. London: British Museum Press.

Green, G. (2003). Traditional Textiles of Cambodia. Bangkok: River Books.

Maxwell, R. (1990). Textiles of Southeast Asia: Tradition, Trade and Transformation. Melbourne: Oxford University Press.

United Nations. (n.d.). Department of Economic and Social Affairs: Sustainable Development Goals. สืบค้นเมื่อ ว้นที่ 30 เมษายน 2022, จาก https://sdgs.un.org/goals.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29