สัญลักษณ์ในพิธีกรรมเลี้ยงผีที่บ้านสิงห์ ตำบลสิงห์ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • อาธิป เมืองนาม สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภาณุพงศ์ อุดมศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

สัญลักษณ์, พิธีกรรมเลี้ยงผี, บ้านสิงห์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัญลักษณ์และความหมายในพิธีกรรมเลี้ยงผีที่บ้านสิงห์ ตำบลสิงห์ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ศึกษาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัย เก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์กลุ่มนางเทียมและจ้ำจำนวน 6 คน การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในเดือนเมษายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระเบียบวิธีทางคติชนวิทยาแล้วนำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีพรรณาวิเคราะห์ พบว่า ความหมายเชิงสัญลักษณ์มี 3 ด้าน ได้แก่ วัตถุสัญลักษณ์ พฤติกรรมสัญลักษณ์และพื้นที่สัญลักษณ์ ด้านวัตถุสัญลักษณ์เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงสถานภาพของอัญญาพ่อเฒ่า แสดงการปกป้องคุ้มครองและแสดงความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน ด้านพฤติกรรมสัญลักษณ์สื่อนัยความจงรักภักดี การปกป้องคุ้มครองและการขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และด้านพื้นที่สัญลักษณ์ พื้นที่ประกอบพิธีกรรม ได้แก่ พื้นที่บนหอใน เป็นสัญลักษณ์ หอโฮง หรือท้องพระโรงของเจ้าเมืองล้านช้าง และพื้นที่ลานโล่งนอกหอในเป็นสัญลักษณ์ท้องพระโรงสำหรับข้าราชบริพารที่เข้าเฝ้าเจ้านายในอดีต ความเชื่อและการรับรู้ของชาวบ้านสิงห์เชื่อว่าวิญญาณอัญญาพ่อเฒ่าเป็นบรรพบุรุษระดับเจ้านายเป็นผู้ก่อตั้งบ้านสิงห์

 

References

บำเพ็ญ ณ อุบล. (2542). สิงห์โคก, บ้าน. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่มที่ 13. กรุงเทพฯ: บริษัท สยามเพรส แมเนจเม้นท์ จำกัด.

ประหยัด สุวรรณเพชร, ชาวบ้าน. สัมภาษณ์เมื่อ 13 เมษายน 2565.

ธวัช ปุณโณทก. (2542). "อาญาสี่ : ระบบการปกครอง". ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่มที่ 15. กรุงเทพฯ: บริษัท สยามเพรส แมเนจเม้นท์ จำกัด.

พรรณวดี ศรีขาว. (2554). การสืบทอดและบทบาทของพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษของชาวกูยที่บ้านละเอาะ อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ. ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิเชฐ สายพันธ์. (2539). “นาคาคติ” อีสานลุ่มน้ำโขง : ชีวิตทางวัฒนธรรมจากพิธีกรรมร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาณุพงศ์ อุดมศิลป์. (2554). ลัทธิพิธีการนับถือเจ้าแม่สองนางกับชุมชนชายฝั่งลุ่มน้ำโขง. ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธีรา ไชยปัญญา, นางเทียม. สัมภาษณ์เมื่อ 13 เมษายน 2565.

สมเดช ชูรัตน์, ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านสิงห์. สัมภาษณ์เมื่อ 13 เมษายน 2565.

สุรชัย ชินบุตร. (2553). การสืบทอดอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของหมอเหยาและอัตลักษณ์ของผู้ไทในพิธีเหยาเลี้ยงผี: กรณีศึกษา ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร. ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริยา สมุทรคุปติ์ และคณะ. (2541). สัญลักษณ์สำคัญในบุญบั้งไฟ การวิเคราะห์และตีความหมายทางมานุษยวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2551). มานุษยวิทยา แนวคิดพื้นฐานและข้อถกเถียงทางทฤษฎี. เชียงใหม่:พงษ์สวัสดิ์การพิมพ์.

Turner, Victor W. (1967). The Forest of Symbols : Aspects of Ndembu Ritual. United States of America: Cornell University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29