“สายป่าน - สายสัมพันธ์”: พหุวัฒนธรรมโดยผ่านการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้น
คำสำคัญ:
ภาพยนตร์สั้น, พหุวัฒนธรรม, จังหวัดยะลา, ปลูกฝังมิตรภาพบทคัดย่อ
บทความวิชาการ เรื่อง “สายป่าน – สายสัมพันธ์” : พหุวัฒนธรรมโดยผ่านการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ สื่อสารการรับรู้จากกระบวนการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้น เป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงอย่างได้ใจความ ตรงประเด็น มีโครงเรื่องไม่สลับซับซ้อน ผู้สร้างสรรค์มีแรงบันดาลใจจากการปลูกฝังความรู้ความเข้าใจการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ด้วยมีครอบครัวเป็นสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ให้กับเด็ก วิธีการดำเนินการศึกษา แบ่งขั้นตอนออกเป็น 4 กระบวนการ ได้แก่ 1) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2) วิเคราะห์ข้อมูลภาคสนาม 3) กระบวนการผลิตภาพยนตร์ 4) ขั้นการประเมิน ผลการศึกษาพบว่า ภาพยนตร์สั้นเรื่อง “สายป่าน - สายสัมพันธ์” มีความยาว 8 นาที ผู้สร้างสรรค์มุ่งเน้นให้ผู้ชมเกิดการรับรู้ วิถีชีวิตของคนในพื้นที่จังหวัดยะลา ผ่านมิตรภาพของเด็ก 3 วัฒนธรรม สื่อสารเนื้อหาในเรื่องของการปลูกฝังมิตรภาพสำหรับเด็ก โดยสิ่งสำคัญที่สุดนั่นคือการปลูกฝังความรู้ความเข้าใจของคนในครอบครัว การประเมินความพึงพอใจและการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายที่รับชม มีความพอใจภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( x̅ = 4.41, S.D.=0.73) แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ต่อสื่อที่ผู้สร้างสรรค์ได้พัฒนาขึ้น เพราะภาพยนตร์สั้นเป็นสื่อที่มีความน่าสนใจประกอบกับเนื้อหาง่ายต่อการรับรู้ ทำให้ผู้รับชมมีความสนใจ สามารถเข้าใจและจดจำเนื้อหา และตัวละครได้ง่ายขึ้น นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้การนำสื่อสัญญะทางวัฒนธรรมของพื้นที่ มาออกแบบการเล่าเรื่อง ซึ่งทำให้ผู้รับชมที่เป็นคนในพื้นที่รับรู้ และเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากมีโครงสร้างความรู้เดิม ที่สะท้อนความทรงจำและความผูกพันของบริบทพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
Downloads
References
จีรบุณย์ ทัศนบรรจง. (2548). เอกสารประกอบการสอนวิชาภาพยนตร์เปรียบเทียบเรื่อง “บทภาพยนตร์”. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จอห์นนพดล วศินสุนทร. (2558). แนวคิดสัญวิทยาและการสร้างความหมาย (Semiology and Signification). สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2558, จาก http://johnnopadon.blogspot.com/2015/10/semiology-andsignification.html
ณัฐพงษ์ พระลับรักษา และวัชรพงษ์ พิมขาลี. (2565). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียรูปแบบภาพยนตร์สั้น เรื่อง ความรักเรื่องนี้. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 6(2), (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564).
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น
ปกรณ์ พรหมวิทักษ์. (2555). การกำกับภาพยนตร์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ปกรณ์ พรหมวิทักษ์. (2561). การผลิตภาพยนตร์สั้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561, จาก http://samforkner.org/source/ dirshortfilm.html
ปิยะดนัย วิเคียน. (2561). กระบวนการผลิตวิดิทัศน์และภาพยนตร์. สืบค้นเมื่อ วันที่ 23 มกราคม 2561, จากhttps:// krupiyadanai.wordpress.com/computer4/
พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม และคณะ. (2563). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทยกรณีศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(3), 46-59.
พชญ อัคพราหมณ์. (2565). การกำกับและสร้างละครออนไลน์ด้วยแนวคิดละครชุมชน เพื่อสื่อสารและสร้างการรับรู้ใหม่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ชุมชน กรณีศึกษา มินิซีรีส์ชุด Spirit of Smart KKU. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 24(1), 104-121.
ภูริพันธ์ ภู่ไพบูลย์. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนบทภาพยนตร์. เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการเขียนสำหรับวิทยุโทรทัศน์และภาพยนตร์. (คณะสารสนเทศและการสื่อสารสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ภัทริยา วิริยะศิริวัฒนะและอัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2559). การวิเคราะห์การเล่าเรื่องในภาพยนตร์เรื่อง Les Misérables Analysis of narrative in the film Les Misérables. ในการประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2559 คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนยะลา. (2564). กลไกการพัฒนาการปฏิบัติงานของพัฒนากรในสังคมพหุวัฒนธรรมโดยใช้ศาสนาเป็นฐาน จังหวัดยะลา. ยะลา: ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนยะลา.
สมัชชา นิลปัทม์. (2551). ว่าวบุหลัน...สุนทรียะของผู้รู้ลม. deepsouth bookazine. สืบค้นเมื่อ วันที่ 23 มกราคม 2561, จาก https://deepsouthwatch.org/th/node/5470
สะอาด ศรีวรรณ และคณะ. (2560). ความเข้มแข็งทางสังคมบนฐานสถาบันครอบครัว. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 4(2), 93-111.
สุรชัย ไวยวรรณจิตร และคณะ. (2564). รูปแบบและสื่อนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ช่วยเยียวยา ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 15(2), 168-205.
โอบเอื้อ ต่อสกุล. (2561). หน่วยที่ 1 ความหมาย วัตถุประสงค์ และประเภทของการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อวันที่4 เมษายน 2561, จาก https://principlesandtheoriesofcommunication.wikispaces. com/
Boggs, J. M. (1978). The Art of Watching Film. California: The Benjamin/Cumming.
Blum, Lawrence A. (1998). Antiracism Multiculturalism, and Interracial Community: Three Educational Values for a Multicultural Society. In Applied Ethnics: A Multicultural Approach. USA. : Prentice Hall, Second edition. 1998. 14 – 30.
Irving, D. K. and Rea, P. W. (2006). Producing and Directing the Short Film and Video. 3rd ed. Amsterdam, Netherlands: Elsevier Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ