การสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีตรุษจีนในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา: เปรียบเทียบการสืบทอดก่อนและในช่วงวิกฤต โควิด-19

ผู้แต่ง

  • กิตตินันท์ เครือแพทย์ สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปัญญา เทพสิงห์ สาขาวิชาสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เกษตรชัย และหีม สาขาวิชาสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี, ตรุษจีน, หาดใหญ่

บทคัดย่อ

วิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมประเพณีตรุษจีนที่ถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2564 การปฏิบัติในครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงอันอาจส่งผลต่อคุณค่าของตรุษจีนต่อหาดใหญ่ที่เปลี่ยนไป งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีตรุษจีนในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยเปรียบเทียบระหว่างก่อนและในช่วงวิกฤตการณ์ โควิด-19 การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธิวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับชาวไทยเชื้อสายจีนหาดใหญ่จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) การสืบทอดในระดับครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงด้านการลดจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ประกอบพิธีกรรม การลดจำนวนของไหว้ และการลดการเดินทางแสวงบุญเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค (2) การสืบทอดในระดับสาธารณะ พบว่า มีการงดการประกวดและคอนเสิร์ตเพื่อลดการรวมตัวของคนหมู่มาก การจัดงานที่เป็นไปอย่างเรียบง่าย รวดเร็ว และปลอดภัยเพื่อสอดรับมาตรการป้องกันโรคระบาดของภาครัฐอย่างเคร่งครัด

Downloads

Download data is not yet available.

References

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2563). มาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 6(2), 467-485.

ดนัย ไชยโยธา. (2546). สังคม วัฒนธรรม และประเพณี. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

เทศบาลนครหาดใหญ่. (2565). นโยบายด้านการศึกษา กีฬา ศาสนา และวัฒนธรรมประเพณี. เข้าถึงเมื่อ 9 ธันวาคม 2565, จาก https://www.hatyaicity.go.th/policy/cate/39

ธนพล วิวัฒน์พาณิชย์. (2553). การสื่อสารเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนผ่านเทศกาลตรุษจีนปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นภัสสรณ์ เหลืองศักดิ์ศรี. (2562). ประเพณีการไหว้ในเทศกาลตรุษจีน: ที่มา ความหมาย และการเปลี่ยนแปลง. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(1), 383-394.

ประชิต สกุณะพัฒน์. (2546). วัฒนธรรมพื้นบ้านและประเพณีไทย. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญา.

ประพิณ มโนมัยวิบูลย์. (2555). ตรุษจีน. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 37(2), 107-123.

พิณทิพย์ ขาวปลื้ม. (2556). การสืบทอดวัฒนธรรมปี่พาทย์มอญใน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2559). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรืองรอง รุ่งรัศมี. (2542). มังกรซ่อนลาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: แพรวสำนักพิมพ์.

เรือนแก้ว ภัทรานุประวัติ. (2554). การศึกษาสืบทอดความเป็นจีนผ่านการทำความเข้าใจในความหมายและสัญลักษณ์ทางศาสนาของชาวจีนสู่ลูกหลานในสังคมไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วรรณดี สุทธินรากร. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

ศุภการ สิริไพศาล, อภิเชษฐ กาญจนดิฐ, พรชัย นาคสีทอง และสุมาลี ทองดี. (2549). ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนชาวจีนเมืองหาดใหญ่จากอดีตถึงปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 9(2), 42-54.

สมบัติ พลายน้อย. (2542). ประเพณีจีน: รวมขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและความเชื่อของจีน. กรุงเทพมหานคร: เยลโล่การพิมพ์.

แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย และฤทธิชัย เตชะมหัทธนันท์. (2557). เทศกาลตรุษจีนเยาวราช: ภูมิหลังและพัฒนาการ. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 14(1), 35-44.

อุษณีย์ ธุวโชติ และคณะ. (2556). วัฒนธรรมอาหารไทย: ภาคใต้. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

เอแบคโพล. (2556). ผลสำรวจในช่วงเทศกาลตรุษจีน. เข้าถึงเมื่อ 9 ธันวาคม 2565, จาก shorturl.at/eiS46

Hall, S. (1990). 1996." Cultural Identity and Diaspora.". Contemporary Postcolonial Theory: A Reader, ed. Padmini Mongia, 110-121.

McKelvie, C., & Pappas, S. (October 17, 2022). What is Culture? Retrieved 6 December, 2022, from https://www.livescience.com/21478-what-is-culture-definition-of-culture.html

Morita, L. C. (2007). Religion and family of the Chinese and Thai in Thailand and influences. Studies in Language and Culture, 125-142.

Prompayuk, S., & Chairattananon, P. (2016). Preservation of cultural heritage community: cases of Thailand and developed countries. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 234, 239-243.

Ren, Q., & Lan, M. (Eds.). (2004). Common knowledge about Chinese culture. Overseas Chinese Affairs Office of the State Council. [in Chinese]

Yangwei, Z. (2006). History of Spring Festival. Red Neckerchief, 5(6). [in Chinese]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29