วัฒนธรรมเวียดนามผ่านขนมตามเทศกาล

ผู้แต่ง

  • ประวิทย์ ธงชัย ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • เฉิ่น ถิ บิ๊ก ถาว คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ขนม , เวียดนาม , วัฒนธรรม, เทศกาล

บทคัดย่อ

ประเทศเวียดนามมีพื้นที่กว้างใหญ่ มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีความเป็นอัตลักษณ์ในวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และเทศกาลที่แตกต่างกันไป กล่าวคือมีความแตกต่างกันทางด้านประเพณี พิธีกรรม ความคิด ความเชื่อ การกระทำ ค่านิยม ทัศนคติ ระเบียบแบบแผนที่ได้ทำในโอกาส โดยสืบทอดต่อกันมาจนเป็นเทศกาลต่างๆ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความเป็นอัตลักษณ์การทำขนมในเทศกาล อีกด้วย บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณีการทำขนม ที่บ่งบอกถึงคุณค่าและแฝงไปด้วยความหมายอันเป็นสิริมงคลและแฝงด้วยความหมายที่ลึกซึ้งไว้ในชื่อ รูปลักษณ์ ส่วนประกอบ สัดส่วน สีต่างๆ และช่วงเวลาที่ทำ ผลการศึกษาพบว่า 1. ด้านความเชื่อ วัฒธรรมและประเพณี ได้แก่ แบ๋งห์จึง ทำมาจากแป้งข้าวเหนียว ปั้นเป็นรูปกลม สื่อถึงท้องฟ้า ดวงอาทิตย์ ประหนึ่งเป็นเทพเจ้าและแผ่นฟ้าเบื้องบนคอยพิทักษ์รักษามนุษย์และปกป้องสรรพสิ่งที่ดีงามให้ร่มเย็นเป็นสุขในยามขึ้นศักราชใหม่ 2. ด้านมนุษยธรรม ได้แก่ แบ๋งห์จึง ทำในช่วงปีใหม่ที่ทุกคนกลับบ้านรวมตัวกันและนำไปบูชาบรรพบุรุษ อีกทั้งให้ความสำคัญกับการทำเกษตรกรรมอีกด้วย 3. ด้านสัญลักษณ์คำสอน ได้แก่ ขนมฟู เท หรือ ขนมซู เซ หรือขนมโลเล เป็นขนมมงคล นิยมใช้ขนมชนิดนี้ในพิธีงานมงคล พิธีสมรส หรือพิธีหมั้น ทำขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความผูกพันอยู่ด้วยกันนานๆ อย่างมีความสุข

References

กิจติยา แคดี (เซฟเก่ง). (2557). ขนมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แม่บ้าน.

ชนิดา ศักดิ์ศิริสัมพันธ์ (บก.). (2541). หน้าต่างสู่โลกกว้าง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง จำกัด.

ชาติพันธุ์ในเวียดนาม. (2554). พันแสงรุ้ง. กรุงเทพฯ: ทีวีไทย.

ดวงกมล การไทย. (2563). เวียดนาม – อาหาร. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php?c_id=11&sj_id=91

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2550). หนังสือชุด ประวัติศาสตร์สำหรับประชาชน ประวัติศาสตร์เวียดนามในแบบเรียนชั้นประถม. กรุงเทพมหานคร: เอ ที ปริ้นติ้ง. บริษัทวิริยะธุรกิจจำกัด.

เทศกาลของประเทศเวียดนาม. (2563). สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565, จาก https://sites.google.com/site/weiydnamhiphf/home/theskal-khxng-weiydnam

ไทยฟลาย. (2563). ข้อมูลเที่ยวเวียดนาม : เทศกาลเต๊ด (Tet). สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.thaifly.com/index.php?route=news/news&news_id=954

นันทนา ปรมานุศิษฏ์. (2556). โอชาอาเซียน (ASEA FLAVORS). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน จำกัด (มหาชน).

บุญอยู่ ขอพรประเสร็ฐ. (2563). ขนม: ความหมายและวิถีการบริโภคของเด็ก. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565, จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/boonyou/2008/07/27/entry-1 2551

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2554. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.royin.go.th/dictionary

ภาณุพงศ์ คำมูล. (2563). ประวัติของขนมหวาน. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2565, จาก https://maneryto.wordpress.com/2010/11/30

มนธิรา ราโท. (2563). บทความพิเศษ "ตรุษเต๊ดปีใหม่ของเวียดนาม". สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?questionid=1239

รัมภา ศิริวงศ์. (2552). ขนมไทย เล่ม2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดวงกมล.

วิทย์ บัณฑิตกุล. (2555). สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม. กรุงเทพฯ: บริษัททวีพริ้นท์ (1991) จำกัด.

สุมิตร ปิติพัฒน์. (2545). ศาสนาและความเชื่อไทดำในสิบสองจุไท สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

อำพิกา สวัสดิ์วงศ์. (2563). แบ๋งห์จึง: ข้าวต้มมัดญวน โอชารสแห่งเทศกาลปีใหม่. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=7234

Bánh chưng trong văn hóa ẩm thực Tết Việt. (2563). สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565, จาก:http://dangcongsan.vn/chao-nam-moi-2020/phong-tuc-Tet/Banh-chung-trong-van-hoa-am-thuc-Tet-viet-547215.html

Jenjira Worajaren. (2563). การแบ่งอาหารเวียดนามในแต่ละภาค. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565, จาก https://sites.google.com/site/jenjiraworajaren/kar-baeng-xahar-weiydnam-ni-taela-phakh

MGR Online. (2565). ดูเวียดนามทำ “แบ๋งห์จึง” ความหมายลึกล้ำในเทศกาลตรุษ. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565, จาก https://mgronline.com/indochina/detail/9550000006818

Thuyết Minh Du Lịch Về Bánh Ít Bình Định. (2565). สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2565, จาก https://vguideschannel.com/thuyet-minh-du-lich-ve-Banh-it-binh-dinh/

Tô Hồng Vân. (2016). Những ngày Tết ta. โรงพิมพ์ Nhà xuất bản Kim Đồng.

Trần Mạnh Thường. (2005). Việt Nam Văn hóa & du lịch. โรงพิมพ์ Nhà xuất bản Thông tấn

Trần Quốc Thịnh. (2004). Văn hóa ẩm thực Kinh Bắc. โรงพิมพ์ Nhà xuất bản văn hóa Thông tin

Trung thực và Truyền thống. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.ntdvn.com/van-hoa/vui-xuan-moi-ke-chuyen-xua-ky-1-Banh-chung-Banh-giay-di-san-van-hoa-than-truyen-cua-nguoi-viet-co-10824.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29