การพัฒนากรอบแนวคิดสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวทาง BCG
คำสำคัญ:
การออกแบบเพื่อการท่องเที่ยว, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นการพัฒนาและทดสอบแนวคิดของการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวทาง BCG โดยมีวัตถุประสงค์พัฒนากรอบแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับการท่องเที่ยวรูปแบบ BCG อันได้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนโดยเน้น เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว และออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวสำหรับแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวทาง BCG สำหรับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดลพบุรี จำนวน 10 แห่ง โดยคณะผู้วิจัยได้พัฒนากรอบแนวคิดของการออกแบบผลิตภัณฑ์กระบวนการออกแบบโดยเริ่มจากการสร้างแนวคิดเบื้องต้นจากการทบทวนวรรณกรรม ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลทรัพยากรในแหล่งท่องเที่ยว ด้วยการบันทึกภาพ สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มย่อย นำผลสำรวจและเก็บข้อมูลมาพิจารณาปัจจัยจากกิจกรรมการท่องเที่ยวผสานกับข้อมูลทรัพยากรในแหล่งท่องเที่ยวเพื่อดำเนินการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยผลงานที่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ทั้งที่เป็นของที่ระลึก ของฝาก หรือเสริมประสบการณ์ในการท่องเที่ยวที่ผลิตจากทรัพยากร ทักษะ และเรื่องราวในแหล่งท่องเที่ยว โดนผลงานต้นแบบได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการท่องเที่ยวและผู้จัดการหรือผู้นำในแหล่งท่องเที่ยวในการทดสอบความพึงพอใจ ซึ่งแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามแนวทาง BCG ในการวิจัยได้นำมาพัฒนาเป็นตารางพิจารณาผลประโยชน์สู่ชุมชนจากการสร้างสรรค์การท่องเที่ยวบนฐาน BCG เพื่อเผยแพร่ต่อไป
Downloads
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการงาน อาชีพ และเทคโนโลยี หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์กรการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). ข้อเสนอ BCG in Action: The New Sustainable Growth Engine โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.nxpo.or.th/th/bcg-economy/
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). การทองเที่ยวเชิงสรางสรรค์ สัมผัสภูมิปัญญาท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.thaicreativetourism.com/detail_tour.php?id=1.
กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเทียว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.ชัยธวัช ทองอินทร์, 2549.
นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย, อรช กระแสอินทร์ และภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2560). Local Neo SME การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย. สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย.
ประชาคมวิจัยด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว. (2561). สมุดปกขาว BCG in Action. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.nxpo.or.th/th/bcg-economy/
สยามล เทพทา. (2561). การพัฒนาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างและการเพิ่มคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นภาพลักษณ์ของจังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 14(2). 76-93.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์, พิเชฐ สายพันธ์, อรอุมา เตพละกุล และ ธีระ สินเดชารักษ์. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Creative Tourism Thailand. กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
อรช กระแสอินทร์, นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย และ จริยา สุพรรณ. (2564). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดชัยนาท จังหวัดชัยสิงห์บุรี และจังหวัดลพบุรี. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.).
อรช กระแสอินทร์, เพกา เสนาะเมือง, นันทชัย ไตรรัตน์วงศ์ และ นภาวดี โรจนธรรม. (2564). รายงานโครงการวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์และออกแบบผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.).
Ammirato, S., Felicetti, A.M. and Dell Gal, M. (2015). Rethinking Tourism Destinations: Collaborative Network Models for the Tourist 2.0. International Journal Knowledge Based Development. 6(3): 178 – 201. Retrieved May 11, 2018 from https://www.researchgatenet/publication/277718523 _Rethinking_tourism_destinations_Collaborative_network_models_for_the_tourist_20.
Beckman, J. (1999). The Current State of Knowledge Management. In Jay Liebowitz (Ed.), Knowledge Management Handbook (p.1-5). Boca Raton: CRC Press.
Binkhorst, E. (2006). The co-creation tourism experience. In The XV International in Tourism & Leisure Symposium 2006, Barcelona, Spain. Retrieved 15 June 2020 from https://www.recercat.cat/ bitstream/ handle/2072/443869/Binkhorst_2006_Barcelona_Cocr.pdf
Richards, G. and Raymond, C. (2000). Creative Tourism. ATLAS News 23: 16-20. Retrieved 10 April 2015 from https://www.researchgate.net/publication/254822440_ Creative_Tourism.
Richards, G. and Wilson, J. (2006). Developing Creativity in Tourist Experiences: A Solution to the Serial Reproduction of Culture. Tourism Management, 27: 1408-1413.
Šimková, Eva. (2009). Knowledge management in tourism. In Conference ICL2009 September 23 -25, 2009. Villach: Austria.
UNESCO. (2006). Towards Sustainable Strategies for Creative Tourism Discussion. In the Planning Meeting for 2008 International Conference on Creative Tourism. October 25-27, 2006 Santa Fe, New Mexico, USA.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ