นวัตกรรมสื่อการศึกษารูปแบบโปรแกรมประยุกต์ (แอปพลิเคชัน) กระบวนเล่นโขนตัวพระ ชุด ตั้งพลับพลา

ผู้แต่ง

  • สุขสันติ แวงวรรณ วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการศึกษา, โปรแกรมประยุกต์ , นาฏศิลป์ , กระบวนรำท่าพระ , ตั้งพลับพลา

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการนำองค์ความรู้ทางด้านนาฏศิลป์ไทยมาสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยี ในรูปแบบโปรแกรมประยุกต์ (แอปพลิเคชั่น) สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมสื่อการศึกษารูปแบบโปรแกรมประยุกต์ (แอปพลิเคชัน) กระบวนเล่นโขนตัวพระ ชุด ตั้งพลับพลา และประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านเพลงรำและกระบวนรำ และด้านการสร้างสื่อการสอน ผลการวิจัยพบว่า

  1. การแสดงโขน ชุด ตั้งพลับพลา มีรูปแบบการแสดง 2 รูปแบบ คือ 1) ตั้งพลับพลา ด้วยเพลงอัตราจังหวะพิเศษ(ช้าปี่ใน) และ 2) ตั้งพลับพลา ด้วยเพลงอัตราจังหวะ 2 ชั้น มีสถานการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น ตามที่ปรากฏในในบทร้อง คือ การแนะนำตัว การว่าความ ไถ่ถาม พิจารณาศึก การมอบหมาย สั่งการ และยกกองทัพ มีกระบวนรำประกอบด้วย 3 ลักษณะคือ กระบวนรำตามจารีตของเพลง กระบวนรำตามบทบาทตัวละคร และกระบวนรำตีบทตามความหมายของบทร้อง
  2. สื่อนวัตกรรมการศึกษากระบวนเล่นโขนตัวพระ ชุด ตั้งพลับพลา มีรูปแบบเป็นโปรแกรมประยุกต์ (แอปพลิเคชัน) จำนวน 17 เพลง ประกอบด้วย 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการฝึกกระบวนรำ และ 2) รูปแบบการฝึกร้อง โดยมีผลการประเมินด้านเนื้อหาและด้านสื่อการสอน อยู่ในระดับดีมาก ทั้งสองด้าน
  3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนในภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก 66.3% ระดับดี 25.84% ระดับปานกลาง 6.26% ระดับน้อย 0.96% และระดับน้อยมาก 0.64%

Downloads

Download data is not yet available.

References

จรรย์สมร ผลบุญ และมณฑล ผลบุญ. (2561). การพัฒนาระบบการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติท่ารำที่ใช้งานนาฏศิลป์. รายงานการวิจัย คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

จิรารัตน์ พันเพ็ง และคณะ. (2560). สื่อการศึกษาโปรแกรมประยุกต์ (แอพพลิเคชั่น) ชุดระบำดาวดึงส์. ศิลปนิพนธ์ ตามหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (5 ปี) สาขานาฏศิลป์ไทยศึกษา ภาควิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะศิลปศึกษา, สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ปวีณนุช พุ่มจิต, อังค์วรา เหลืองนภา. (2562). การใช้แอปพลิเคชันในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ไพโรจน์ ตีรณธนากุล, ไพบูลย์ เกียรติโกมล และเสกสรร แย้มพินิจ. (2542). Design IMM Computer Instruction การออกแบบการสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ยืน ภู่วรรณ และสมชาย นําประเสริฐ. (2546). ไอทีเพื่อการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สันติ วิจักขณลัญฉ์. (2547). แนวคิดและหลักการรูปแบบการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานการเรียนรู้. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29