การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่และฐานวิถีชีวิตใหม่สู่เจเนอเรชันซีโดยใช้นาฏศิลป์สร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐพัชร ปวงสุข คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ธรากร จันทนะสาโร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์สร้างสรรค์ , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ , ฐานวิถีชีวิตใหม่ , เจเนอเรชันซี , ศิลปะการแสดง , การออกแบบสื่อสำหรับวัยรุ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อสร้างสื่อความรู้ในการเผยแพร่วิธีการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่และฐานวิถีชีวิตใหม่ด้วยนาฏศิลป์สร้างสรรค์ สำหรับเจเนอเรชันซีในโซเชียลมีเดีย และ 2.เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจและความพึงพอใจหลังรับชมนาฏศิลป์สร้างสรรค์ จากเจเนอเรชันซีในโซเชียลมีเดียมีเดีย ใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ผสมผสานกับงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจเนอเรชันซีจำนวน 400 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน พ.ศ.2564 วิธีวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย (Descriptive Research) ใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเกต (Observation Analysis) ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงสถิติพื้นฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. การออกแบบการเผยแพร่วิธีการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่และฐานวิถีชีวิตใหม่สู่เจเนอเรชันซีโดยใช้นาฏศิลป์สร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 8 องค์ประกอบ คือ บทการแสดงที่นำเสนอเรื่อง วิธีการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่และฐานวิถีชีวิตใหม่ นักแสดง ลีลาการเคลื่อนไหว เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ดนตรีประกอบการแสดง สถานที่ประกอบการแสดง และอุปกรณ์ประกอบการแสดง สำหรับกระบวนการสร้างและพัฒนางานนาฏศิลป์สร้างสรรค์สู่รูปแบบสื่อออนไลน์ใช้แนวทางจากองค์ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ ในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้นที่เผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊ก โดยมีความยาว 4.27 นาที และ 2. การวัดความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการรับชมรวมไปถึงความพึงพอใจหลังการรับชม พบว่าความรู้ความเข้าใจก่อนการรับชมผลงานนาฏศิลป์สร้างสรรค์ผู้ชมมีความรู้ความเข้าใจที่ค่าเฉลี่ย 15.14 และหลังการรับชมผลงมีความรู้ความเข้าใจที่ค่าเฉลี่ย 21.53 โดยพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจหลังรับชมการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่และฐานวิถีชีวิตใหม่สู่เจเนอเรชันซี โดยใช้นาฏศิลป์สร้างสรรค์ในโซเชียลมีเดียมีความแตกต่างกันและสูงกว่าก่อนรับชม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการแสดงความพึงพอใจอยู่ที่ภาพรวมที่ค่าเฉลี่ย 4.90 อยู่ในระดับมากที่สุด

การอภิปรายผลที่น่าสนใจ พบว่า การออกแบบลีลาการเคลื่อนไหวโดยใช้การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) มาเป็นหลักในการออกแบบลีลาการเคลื่อนไหว เนื่องจากมีลีลาการเคลื่อนไหวที่เข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อความถูกต้องของเนื้อหาสำคัญที่ต้องการจะสื่อสาร อีกทั้งยังคำนึงถึงการได้รับประโยชน์และการนำความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการรับชมไปใช้ในการดำรงชีวิตในการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่และฐานวิถีชีวิตใหม่

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/handout001_12032020.pdf

จารุณี หงส์จารุ. (2562). การเคลื่อนไหวในละคร. ใน นพมาส แววหงส์, บรรณาธิการ, ปริทัศน์ศิลปะการละคร, น.138-150. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดาริณี ชำนาญหมอ. (2557). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อผู้หญิงกับการยุติความรุนแรง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ด. (นาฏยศิลป์ไทย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

ธนกร สรรย์วราภิภู. (2560). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ชุด เดอะวิทรูเวียนแมน. วิทยานิพนธ์ ศศ.ด. (นาฏยศิลป์ไทย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

นัฏภรณ์ พูลภักดี. (2562). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากเทคนิคมายากล. วิทยานิพนธ์ ศศ.ด. (นาฏยศิลป์ไทย). กรุงเทพฯ : กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

วีรวรรณ แซ่จ๋าว. (2557). อิทธิพลของทัศนคติและความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจวางแผนท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์ ศป.ม. (การจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ถ่ายเอกสาร.

สรร ถวัลย์วงศ์รี. (2559). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยจากแนวคิดความหลากหลายทางเพศ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ด. (นาฏยศิลป์ไทย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

Ann Hutchinson Guest. (1995). Seven Basic Movement in Dancing. The Journal of the Society for Dance Research. 13(1): 7-20. Retrieved August 30, 2021, from https://www.jstor.org/stable/1290898

Helene Andreu. (2002). Jazz Dance Styles and Steps for Fun. United States of America: United States of America Bloomington.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29