เทศน์มหาชาติ : ประเพณีเนื่องมาจากความกลัวเรื่อง “โลกหน้า” และ “กลียุค” ในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • นิธิอร พรอำไพสกุล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุภัค มหาวรากร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

เทศน์มหาชาติ, ความกลัว, โลกหน้า, กลียุค

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาคติความเชื่อที่มาของประเพณีเทศน์มหาชาติ ผลการศึกษาพบว่าที่มาของประเพณีเทศน์มหาชาติมาจากคติความเชื่อ 2 ประการ ได้แก่ คติความเชื่อเรื่องพระมาลัย และคติความเชื่อ เรื่องปัญจอันตรธาน คติความเชื่อทั้ง 2 ประการนี้มีนัยเชื่อมโยงถึงความกลัวว่าจะไม่ได้ไป “โลกหน้า” หรือ “ยุคพระศรีอาริย์” และความกลัวเรื่อง “กลียุค” ซึ่งเป็นความกลัวซ้อนความกลัวเรื่อง “ความเสื่อม” ของพุทธศาสนาอีกชั้นหนึ่ง ประเพณีเทศน์มหาชาติเป็นหลักฐานที่แสดงความเชื่อทางพุทธศาสนาเรื่อง “โลกหน้า” และความกลัวเรื่อง “การสูญสิ้นพุทธศาสนา” ในสังคมไทย การจัดประเพณีเทศน์มหาชาติจึงเป็นการจัดการความกลัวในใจของมนุษย์ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่น ทำให้สบายใจ และคลายความวิตกกังวลบนเงื่อนไขการจัดการทางวัฒนธรรมคือการจัด “ประเพณีเทศน์มหาชาติ” เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ “สดับตรับฟังเทศน์มหาชาติ” อันแสดงถึงบทบาทสำคัญของประเพณีเทศน์มหาชาติในสังคมไทย

References

กรมศิลปากร. (2536). สังคีติยวงศ์ ใน วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม 4. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2555). สมุดพระมาลัย และสุบินกลอนสวด. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2548). พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2550). ประชุมพระราชปุจฉา. กรุงเทพฯ : คณะรัฐมนตรี และราชกิจจานุเบกษา.

คัมภีร์สุโพธาลังการ. (2504). กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์.

จอม บุญตาเพศ ป.. (ม.ป.ป). มหาอานิสงส์ 108 กัณฑ์ (เพิ่มเติมอีก 24 กัณฑ์). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

จูเลียน ฮักซ์ลีย์ ;และคนอื่นๆ. (2552). วิวัฒนาการแห่งความคิด : ภาคมนุษย์และโลก. แปลโดย จุฑาทิพย์

อุมะวิชนี. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เด่นดาว ศิลปานนท์. (2553). แกะรอยพระมาลัย. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2524). ตำนานเทศน์มหาชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. พิมพ์แจกใน

งานทอดกฐินพระราชทานของสำนักนายกรัฐมนตรี ณ วัดมหรรณพาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 29 ตุลาคม 2524.

บำเพ็ญ ระวิน, ผู้ชำระ. (2542). ประชุมพงศาวดารฉบับราษฎร์พระอนาคตวงศ์. นิธิ เอียวศรีวงศ์,

บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

ป.ส.ศาสตรี. (2550). อลังการศาสตร์. กรุงเทพฯ : บริษัท เอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำกัด.

ปรมินท์ จารุวร. (2549). สวดพระมาลัย: บทบาทของคีตกรรมหลังความตายต่อวรรณกรรมและสังคม. ในพิธีกรรม ตำนาน นิทาน เพลง: บทบาทของคติชนกับสังคมไทย. สุกัญญา สุจฉายา, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 113 - 162.

ประพจน์ อัศววิรุฬหการ. (2551). ความเชื่อและศาสนากับสังคมไทย ใน ประมวลสาระชุดวิชา ไทยศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปรีชา ช้างขวัญยืน และสมภาร พรมทา. (2552). มนุษย์กับศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2512). พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). กาลานุกรม พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ผลิธัมม์.

ภรตมุนี. (2541). นาฏยศาสตร์. แปลโดย แสง มนวิทูร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2547). ความสำคัญของเวสสันดรชาดกในวัฒนธรรมไทย ใน มณีปิ่นนิพนธ์ รวมบทความด้านภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระสูตรและอรรถกถา แปล ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์. พิมพ์เนื่องในวโรกาสครบ 200 ปี แห่งพระราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระสูตร และอรรถกถา แปล อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่มที่ 1 ภาคที่ 1. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์. พิมพ์เนื่องในวโรกาสครบ 200 ปี แห่งพระราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525.

มิลินทปัญหา. (2549). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.

ยศ สันตสมบัติ. (2544). มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยศ สันตสมบัติ. (2550). ฟรอยด์และพัฒนาการของจิตวิเคราะห์ : จากความฝันสู่ทฤษฎีสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. (2551). พระปฐมสมโพธิ. กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2539). พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์.

เสภาขุนช้างขุนแผน. (2544). พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2552). ตำนานพระศรีอาริย์ในสังคมไทย: การสร้างสรรค์และบทบาท. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาษาไทย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29