การสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ชุด เส้น สี สุนทรียแห่งองค์พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

ผู้แต่ง

  • มินทร์ลดา จักรชัยอนันท์ คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์, สุนทรียะ, พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ชุด เส้น สี สุนทรียแห่งองค์พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลความเป็นมา โครงสร้างสถาปัตยกรรม สีและลวดลาย วิเคราะห์หารูปแบบและเทคนิควิธีการ ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ถ่ายทอดคุณค่าความงามขององค์พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ชุด เส้น สี สุนทรียแห่งองค์พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล
ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูล ศึกษาผลงานศิลปกรรมทั้งแนวประเพณีและศิลปะร่วมสมัย ศึกษาเทคนิควิธีการพิมพ์ตะแกรงไหม โดยแบ่งการสร้างสรรค์ออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกสร้างแม่พิมพ์โดยการเขียนลายเส้นลวดลายองค์พระมหาเจดีย์ด้วยปากกาและดินสอไขสีดำลงบนกระดาษไขฟิล์ม พิมพ์สีเดียว ระยะที่สองสร้างแม่พิมพ์ด้วย Application Adobe Illustrator Draw โดยสร้างแม่พิมพ์ตามจำนวนสีที่ปรากฏในภาพร่างต้นแบบ และระยะที่สามคือการนำภาพร่างต้นแบบไปปรับไฟล์แยกเม็ดสกรีนในโปรแกรม Adobe Photoshop ก่อนนำ Print ลงบนกระดาษไข โดยการพิมพ์ 4 สี (CMYK)
ผู้วิจัยได้ศึกษาอย่างสร้างสรรค์ทั้งทางด้านเทคนิควิธีการ แนวความคิด และรูปแบบในการแสดงออก ผลการวิจัยพบว่างานสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย โดยการนำทัศนธาตุต่าง ๆ มาใช้ในลักษณะการทำซ้ำและตัดทอนรายละเอียด สร้างให้เกิดความสัมพันธ์เคลื่อนที่กันระหว่างพื้นที่ว่างกับโครงสร้างสถาปัตยกรรมได้อย่างอิสระตามจินตนาการ สร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้ชมได้เข้าถึงสุนทรียแห่งองค์พระมหาเจดีย์ 4 รัชกาล สามารถสืบทอดความงามจากศิลปะประเพณีสู่ศิลปะร่วมสมัย ก่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่าทางความงามที่รุ่งเรืองภายในจิตใจ

References

ชาตรี ประกิตนนทการ. (2556, มกราคม - มิถุนายน). ศิลปะ - สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 1: แนวคิด คติ สัญลักษณ์ และความหมายทางสังคมยุคต้นรัตนโกสินทร์. วารสารวิจิตรศิลป์ 4(1): 243-316.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2556). พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2561). ผลงานออกแบบเลขศิลป์ในงานนฤมิตรศิลป์ชุด “สุนทรียะ คุณค่าของวิถีอีสาน”. กรุงเทพฯ.

สันติ เล็กสุขุม. (2552). เจดีย์ : ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29