แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงยุคพลิกผัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์
ผลการวิจัย พบว่า
1)สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงยุคพลิกผัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2) ความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงยุคพลิกผันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
3) แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงยุคพลิกผัน พบว่า 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา คือ ควรวิเคราะห์ความต้องการ และความคาดหวังที่สอดคล้องกับระดับของหลักสูตรจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญต่อหลักสูตร 2) ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนคือ ควรมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยแยกความสามารถทางวิชาการกับพฤติกรรมของผู้เรียนออกจากกันอย่างชัดเจน 3) ด้านการนิเทศการศึกษาคือ ควรส่งเสริมให้มีการนิเทศแบบกัลยาณมิตรด้วยการชี้แนะหรือการเป็นโค้ช 4) ด้านการพัฒนาปรับปรุงประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา คือ ควรมีแต่งตั้งคณะกรรมการทำงานและกำหนดบทบาทหน้าที่
รับผิดชอบอย่างชัดเจน เพื่อกำหนดเป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ 5) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ คือ ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ออกแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน และ 6) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา คือ ควรนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนาผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โมนา ชัยกฤตทองกุล, สมชาย อังสุโชติเมธี และ สุบัน พรเวียง. (2567). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(6), 32-42. https://so03.tci-
thaijo.org/index.php/JMND/article/view/277833
ไชยา ภาวะบุตร. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมศักดิ์การพิมพ์ กรุ๊ป.ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
นัตพงษ์ ช่ออังชัน และ วัลลภา อารีรัตน์. (2565). แนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดวิถีใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. วารสารปัญญาปณิธาน, 7(2), 255-268. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/
รุ่งทิวา แย้มรุ่ง, กิตติชัย สุธาสิโนบล, และ พัฒน์นรี จันทราภิรมย์. (2565). ยุคการเปลี่ยนแปลงของโลกกับความท้าทายในการพัฒนาเด็กปฐมวัย. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 65(2), 1-13.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2566). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี พ.ศ.2566 - 2570. ขอนแก่น: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภีร์ โลไธสง, อัจฉรา นิยมาภา และ วีรภัทร ภัทรกุล. (2567). แนวทางการบริหารงานวิชาการภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 11(2), 217-232. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/
JMA/article/view/269379
Radivojevic, N., Pajic, V., & Osmanovic, S. (2024). The Influence of Organizational Factors on the School’s Achievements. International Journal of Cognitive Research in Science, Engineering & Education (IJCRSEE), 12(1), 169-183. https://doi.
org/10.23947/2334-8496-2024-12-1-169-183
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.Tokyo: Harper International Edition.