กองบุญพระภิกษุอาพาธ : รูปแบบการขับเคลื่อนการดูแลพระภิกษุอาพาธวิถีพุทธของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพการบริหารงานกองบุญพระภิกษุอาพาธของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี 2) ศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนการดูแลพระภิกษุอาพาธวิถีพุทธของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี และ 3) ศึกษาการสร้างเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งของกองบุญพระภิกษุอาพาธวิถีพุทธของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 21 รูป/คน และสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 รูป/คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพการจัดการด้านจุดแข็ง หมายถึง การช่วยเหลือพระภิกษุอาพาธโดยเจ้าคณะปกครอง ด้วยการอนุเคราะห์ช่วยเหลือพระภิกษุที่เจ็บป่วยตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ด้านจุดอ่อน หมายถึง พระภิกษุอาพาธส่วนมากขาดผู้ดูแลและขาดทุนสำรอง ในการดำเนินกิจกรรมโดยไม่หวังผลกำไร ซึ่งไม่มีนโยบายการระดมทุน ด้านโอกาส พบว่า คณะสงฆ์ที่ได้รับทราบแนวทางการดำเนินงานนี้ได้ให้ความสนใจอย่างมาก รวมทั้งบุคคลที่ได้รับข่าวสารต่างร่วมสมทบปัจจัยด้วยความยินดี ด้านปัญหาและอุปสรรคระยะที่เกิดการแพร่ระบาดของโรค โควิด 19 ทำให้พระภิกษุต้องมาเบิกสวัสดิการจำนวนมาก เพราะขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
2) รูปแบบการขับเคลื่อน ด้านการวางแผน ได้จัดประชุมวางแผนงานทุกสิ้นปี และร่วมกันวางแนวทางใหม่ ในด้านการปฏิบัติ ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกองบุญด้วยการกระจายอำนาจ
การจ่ายสวัสดิการ ด้านการตรวจสอบ ได้ตรวจเอกสารฉบับจริงในการเบิกทั้งเงินสดและออนไลน์ ส่วนด้านการปรับปรุงแก้ไข ได้ปรับเกณฑ์สวัสดิการตามความเหมาะสมโดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมงด้านการตรวจสอบ ในการเบิกค่าใช้จ่ายต้องใช้เอกสารฉบับจริงและประสานงานกับหน่วยงานภายนอกให้ร่วมตรวจสอบด้วย
3) การสร้างเครือข่ายดูแลพระภิกษุอาพาธ ได้แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านเครือข่ายคณะสงฆ์ และ ด้านเครือข่ายภาครัฐและเอกขน ซึ่งเป็นเครือข่ายแนวดิ่งในระดับจังหวัด เพื่อติดต่อสื่อสารและขยายไปยังจังหวัดอื่น ให้สั่งการลงมาระดับล่าง แบบพหุภาคี 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการรักษา ด้านการเคลื่อนย้าย ด้านการจัดหายา ด้านอุปกรณ์การรักษา และด้านที่พักระยะสุดท้าย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์ และคณะ. (2563). การเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนสันติสุขในสังคมไทย. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปิติณัช ราชภักดี และคณะ. (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 26(3), 199-207. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/168680
พระครูปริยัติกิตตยาภรณ์. (2561). รูปแบบการจัดการสุขภาวะแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุของพระสงฆ์จังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูพิพิธสุตาทร. (2562). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต. (2557). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดทัศนพล เขมจาโร. (2534). รูปแบบการบริหารจัดการสุขภาพพระสงฆ์ตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติของพระสังฆาธิการในจังหวัดพิจิตร. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดสาธิต สุจิณฺโณ. (2566). ระเบียบการสมัครสมาชิก กองบุญพระภิกษุอาพาธจังหวัดจันทบุรี. สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี.
พระมหาอรรถพงษ์ สิริโสภโณ. (2564). บทบาทของพระคลานุปัฏฐากจังหวัดมหาสารคามในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19. Journal of Buddhist Education and Research, 7(3), 170-181. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/255901
มติมหาเถรสมาคม. ครั้งที่ 21/2565 ที่ 683/2565. (สิงหาคม 2565) : 1.
โรงพยาบาลสงฆ์. (มกราคม 2562). ประวัติโรงพยาบาลสงฆ์. สารโรงพยาบาลสงฆ์, 1, 2-3.
ศรีเมือง พลังฤทธิ์. (2562). สถานะสุขภาพและแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(2), 133-142. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/200812
สำนักบริหารการทะเบียน. (7 มกราคม 2566). สถิติจำนวนผู้สูงอายุ ปีพ.ศ.2565. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร. กรมกิจการผู้สูงอายุ, น. 13.
อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์. (24 เมษายน 2566). เทคนิคและเครื่องมือสื่อความคิดในการศึกษาชุมชน. http://www.tsdf.nida.ac.th/elctfl/
articlefile/article-file-11244.pdf