ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อาภาพร รันคำภา
สุทธิพงศ์ บุญผดุง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาระดับความสำเร็จในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับความสำเร็จในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร และ 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 234 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 
1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก 
2) ระดับความสำเร็จในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 
3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับความสำเร็จในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันและมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง .83 ถึง .94 
4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ด้านการควบคุมแผนกลยุทธ์ และด้านการกำหนดกลยุทธ์ มีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณของตัวแปรเท่ากับ .95 ค่าอำนาจการพยากรณ์ ร้อยละ 89.40 ค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากการพยากรณ์เท่ากับ .26 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
รันคำภา อ., & บุญผดุง ส. (2024). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 11(4), 101–113. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/272911
บท
บทความวิจัย

References

จุรีรัตน์ ม่วงนา. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฉัตรกมล สมแตง. (2563). แนวทางการบริหารสู่โรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

นันทิยา คงเมือง. (2565). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุงเขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วิรันทร์รัตน์ เสือจอย. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2564-2569). กรุงเทพฯ: สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานเขตประเวศ. (2565). รายงานการประเมินตัวเอง (SAR). กรุงเทพฯ: ฝ่ายการศึกษา.

_____ . (2566). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานเขตประเวศ. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://webportal.bangkok.go.th/prawet/page/sub/26842.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Mahmood, J. A., Muthana, M. S., & Mohammed, Q. H., (2021). The Impact of the Strategic Leadership in Strategic Learning Exploratory Research at Anbar University, Journal of Economics and Administrative Sciences, 27(128), 99-112.