รูปแบบการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ปัณณธรณัฐ อาปะโม
กฤษกนก ดวงชาทม
ปองภพ ภูจอมจิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) สร้างและพัฒนารูปแบบทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 4) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ กลุ่มเป้าหมาย คือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อยืนยันองค์ประกอบและตัวชี้วัด ระยะที่ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2/2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 แห่ง จำนวน 275 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 สร้างและพัฒนารูปแบบทักษะการรู้ดิจิทัล กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อยืนยันและประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ระยะที่ 4
ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามจำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเมินความต้องการจำเป็น (PNIModified)
ผลการวิจัยพบว่า
1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดของของทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 18 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ 2) ทักษะด้านการปฏิบัติ 3) ทักษะด้านการสื่อสาร 4) ทักษะด้านการเข้าถึง และ 5) ทักษะด้านการประเมิน
2) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาปริญญาตรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x = 3.47) สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.73) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัล โดยภาพรวมมีค่า PNImodified = 0.34
3) รูปแบบการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัล มีองค์ประกอบของรูปแบบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการ และการวัดและประเมินผล มีหน่วยการเรียนรู้ 5 Modul ได้แก่ Module 1 ทักษะด้านการสร้างสรรค์ Module 2 ทักษะด้านการปฏิบัติ Module 3 ทักษะด้านการสื่อสาร Module 4 ทักษะด้านการเข้าถึง Module 5 ทักษะด้านการประเมิน ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.82) 4) ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.62)
ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.81)

Article Details

How to Cite
อาปะโม ป. ., ดวงชาทม ก. ., & ภูจอมจิตร ป. . (2024). รูปแบบการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 11(3), 143–159. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/271272
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2567, จาก http://library.nhrc.or.th/ulib/dublin.php?ID=10558.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

ธิดา แซ่ชั้น และ ทัศนีย์ หมอสอน. (2559). การรู้ดิจิทัล : นิยาม องค์ประกอบ และสถานการณ์ในปัจจุบัน. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 34(4), 116-145.

บงกช ทองเอี่ยม. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูในมหาวิทยาลัยแบบไม่จํากัดรับ. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 291-302.

พรชนิตว์ ลีนาราช. (2560). ทักษะการรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. วารสารห้องสมุด, 61(2), 76-92.

พิสุทธิ์ ศรีจันทร์. (2562). การศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของ นักศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี, 3(2), 1-15.

พีรวิชญ์ คำเจริญ และ วีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2561). เด็กกับการรู้เท่าทันดิจิทัล. วารสารวิชาการ นวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(2), 22-31.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเพ่น เวิลต์ส พับลิชชิ่ง.

วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์. (2557). การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล 2. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2567, จาก http://www.infocommmju.com/icarticle/images/stories/icarticles/ajwittaya/digital/Digitalliteracy2.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุภารักษ์ จูตระกูล. (2559). ครอบครัวกับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล (Digital Literacy) ของดิจิทัลเนทีฟ (Digital Natives). วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1), 131-150.

อมรพงศ์ สุขเสน. (2566). การพัฒนาเกมดิจิทัลตามแนวคิดผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.