การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
2) ศึกษาแนวทางทางการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed Methods) เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 327 คน โดยใช้สูตร Taro Yamane ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 แล้วนำข้อมูลจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม พบว่า ในภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านเมตตา รองลงมาคือ ด้านอุเบกขา ด้านมุทิตา และ ด้านกรุณา ตามลำดับ
2. แนวทางการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม คือ 1) หลักเมตตา คัดกรองนักเรียนเก็บข้อมูลนักเรียนอย่างเป็นความลับเพื่อประโยชน์แก่นักเรียน ดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างใกล้ชิดด้วยความรัก และไม่ปล่อยปะละเลยให้เป็นปัญหาของสังคม 2) หลักกรุณา จัดการประชุมผู้ปกครอง สร้างเครือข่ายผู้ปกครองและร่วมกันดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความสบายใจ 3) หลักมุทิตา ประกาศเกียรติคุณสำหรับนักเรียนที่ทำความดีและได้รับรางวัลต่าง ๆ สนับสนุนให้นักเรียน สร้างความภาคภูมิใจ ในตัวนักเรียนตามความถนัดและความสนใจ 4) หลักอุเบกขา บันทึกการคัดกรอง การจัดเก็บข้อมูลนักเรียน จัดกลุ่ม แยกนักเรียนกลุ่มที่มีปัญหา ช่วยเหลือ ส่งเสริมนักเรียน ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ตลอดจนหาสาเหตุของปัญหาและหาวิธีการช่วยเหลือให้เหมาะสม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2562 (ฉบับที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัท สยาม สปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
กัณพัฒน์ แพงดาน. (2564). การบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียนขยายโอกาสสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชัยพล อนุสุวรรณ. (2564). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวินัยธรวรวุฒิ เตชธมฺโม (เฮียงเหี่ย) และคณะ. (2566). การวิจัยแบบผสมผสานวิธีทางหลักพรหมวิหารธรรม 4 สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูอินทสารธรรม นรินฺโท (โคนพันธ์). (2562). การบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระนิรันดร์ จรณธมฺโม. (2561). การบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาตามพุทธบริหารการศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปัญญา, 2(2), 66-82.
ภัทรานิษฐ์ เหมาะทอง และคณะ. (2560). การกำหนดตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2567, จาก https://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_9_Yamane.pdf
โรงเรียนบรบือวิทยาคาร. (2563) คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). คู่มือการคัดเลือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา เพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุภางค์ จันทวานิช. (2540). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.