แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการบริหารงบประมาณตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 2) เสนอแนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 305 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. วิธีการบริหารงบประมาณตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 พบว่า ในภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านฉันทะ รองลงมา คือ ด้านวิริยะ และด้านวิมังสา และต่ำสุด คือ ด้านจิตตะ
2. แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักอิทธิบาท 4 คือ 1) ผู้บริหารควรมีความพอใจในการส่งเสริมให้บุคลากรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับงานพัสดุ การเงิน และการจัดทำบัญชีตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จัดทำเอกสารหลักฐานการเงินให้เป็นระบบและกำหนดกรอบระยะเวลาให้ชัดเจนด้วยความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ 2) ผู้บริหารควรมีความเพียรพยายามในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านงบประมาณที่เป็นระบบ มีการวางแผนการใช้งบประมาณให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง โดยการประสานความร่วมมือกับบุคลากรทุกคน 3) ผู้บริหารควรมีความเอาใจใส่และรอบคอบในการอนุมัติงบประมาณตามแผนปฏิบัติการ และจัดทำรายงานการใช้งบประมาณให้เสร็จทันตามระยะเวลาที่กำหนด 4) ผู้บริหารควรมีการคิดไตร่ตรองอย่างละเอียดถี่ถ้วน ในการจัดระบบโครงสร้างการบริหารงบประมาณร่วมกับบุคลากรให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิดานันท์ สวนคล้าย และลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. (2566). การบริหารงบประมาณของสถานศึกษา ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 122-139.
โชติกา ศรเพชร และคณะ. (2563). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักอิทธิบาท 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 7(2), 41-50.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ปวีณา จำนงกิจ และคณะ. (2566). การบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 10(2), 349-361.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก, หน้า 3.
พระอภินันท์ กนฺตสีโล (สิงมาดา) และคณะ. (2563). การบริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอนาดูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. Modern Learning Development, 5(4), 62-70.
ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์. (2545). แนวคิดและกระบวนการบริหารงานคลังและงบประมาณ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
สมศักดิ์ กรอบสูงเนิน. (2552). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Francisco M. Espinosa. (2017-2018). FINANCIAL MANAGEMENT PRACTICES OF SCHOOL HEADS: TEACHERS’ PERSPECTIVES. Skyline Business Journal, 13(1), 33-44.
Gulick & Urwick. (1973). Papers on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.