การสร้างสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) กรณีศึกษาหัวข้อประวัติศาสตร์งานทาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI) ในการสอนประวัติศาสตร์งานทาง และเพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือสื่อการเรียนการสอน โดยได้ศึกษาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม (Index of Item Objective Congruence: IOC) และค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ (Content Validity Index: CVI)
ผลการวิจัยพบว่า
จากประเมินคุณภาพสื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน โดยได้ผลการประเมินทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านเนื้อหาและการนำเสนอ ด้านเทคนิคและการออกแบบสื่อ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีค่า IOC มากกว่า 0.5 ซึ่งผ่านเกณฑ์ยอมรับได้ และผลจากการประเมินคุณภาพของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ (Content Validity Index: CVI) มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของข้อคำถามรายข้อ (Item-level CVI: I-CVI) I-CVI มากกว่า 0.8 ซึ่งผ่านเกณฑ์ยอมรับได้ และมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือทั้งชุด (Scale-level CVI: S-CVI) S-CVI มากกว่า 0.8 ซึ่งผ่านเกณฑ์ยอมรับได้ ผลจากการศึกษาโดยสรุปสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี Computer Assisted Instruction (CAI) ในการสอนประวัติศาสตร์งานทางนี้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ในห้องเรียนและเป็นการสนับสนุนการเรียนการสอนแบบ Active Learning และการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เจษฎากร ปิ่นคำ และ ภาณุวัฒน์ ขุราษี. (2564). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องโครงสร้างของบ้าน. (ปริญญานิพนธ์ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นภาพร ศรีอ่อน และ ภัทราภรณ์ สิงห์แจ่ม. (2565). สื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) สามมิติในการจำลองโครงสร้างฐานรากเสาเข็มตอก. (ปริญญานิพนธ์ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น.
ประไพสุข เกษมสุข, ณรงค์ฤทธิ์ บุญชัยแสน และ วราภรณ์ ศรีด้วง. (2564). การสร้างสื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนจริงสามมิติ เรื่อง ประเภทของฐานราก. (ปริญญานิพนธ์ของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น.
พีรพัฒน์ โสภา และ วรวุฒิ ละออง. (2565). การสร้างสื่อการสอนมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ การก่อสร้างบ้านพักอาศัย 1 ชั้น. (ปริญญานิพนธ์ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น.
วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือวิจัยด้วยเทคนิค IOC, CVR และ CVI. วารสารรังสิตสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต, 28(1), 169-192.
Dilara Sahin and Rabia Meryem Yilmaz. (2020). The effect of Augmented Reality Technology on middle school students' achievements and attitudes towards science education. Computers & Education, 144, 103-710.
Rabia M. Yilmaz. (2016). Educational magic toys developed with augmented reality technology for early childhood education. Computers in Human Behavior, 54, 240-248.