รูปแบบการทำสมาธิเพื่อเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหาร โรงเรียนพระปริยัติธรรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

พระอนุสรณ์ วชิรวํโส (เกาะน้ำใส)
กนกอร สมปราชญ์
พระฮอนด้า วาทสทฺโท

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการทำสมาธิเพื่อเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืมของโมเดลสมการโครงสร้างการทำสมาธิที่มีอิทธิพลต่อวุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) สร้างรูปแบบการทำสมาธิเพื่อเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 4) ประเมินรูปแบบการทำสมาธิเพื่อเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กับกลุ่มประชากรที่เป็นผู้บริหารและครูจำนวน 380 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ และแบบสอบถามเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การวิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการทำสมาธิเพื่อเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) องค์ประกอบของการทำสมาธิมี 4 องค์ประกอบหลัก 15 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบของวุฒิภาวะทางอารมณ์ มี 5
องค์ประกอบหลัก 14 ตัวบ่งชี้
2. การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างการทำสมาธิเพื่อเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า การทำสมาธิมีอิทธิพลค่อนข้างสูงต่อวุฒิภาวะทางอารมณ์ คือ ค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.827 อย่างมีนัยสำคัญ ค่าดัชนีกลมกลืนของการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างของการทำสมาธิเพื่อเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ ค่าไคว์สแคว์ (X2) เท่ากับ 371.509 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 263 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.0730 แสดงว่าค่าไคว์สแคว์ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติค่าดัชนีวัดความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.967 ค่าดัชนีตรวจสอบความกลมกลืน (TLI) เท่ากับ 0.978ค่าความคาดเคลื่อนในการประมาณพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.007 ค่าดัชนีรากที่สองกำลังสอง (SRMR) เท่ากับ 0.051
3. การสร้างรูปแบบการทำสมาธิเพื่อเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า รูปแบบการทำสมาธิเพื่อเสริมสร้างวุฒิภาวะ
ทางอารมณ์ที่ผ่านการประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 1) ชื่อรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) หลักการและแนวคิด 4) การดำเนินการและวิธีปฏิบัติ 5) องค์ประกอบหลักการทำสมาธิ 6) องค์ประกอบหลักวุฒิภาวะทางอารมณ์ 7) การปฏิบัติและตัวชี้วัดความสำเร็จ
4. ผลการประเมินรูปแบบการทำสมาธิเพื่อเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีผลการประเมิน ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
(เกาะน้ำใส) พ. ว., สมปราชญ์ ก. ., & วาทสทฺโท พ. . (2024). รูปแบบการทำสมาธิเพื่อเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหาร โรงเรียนพระปริยัติธรรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 11(4), 354–364. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/269633
บท
บทความวิจัย

References

ปทุมมา บำเพ็ญทาน. (2560). รูปแบบการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนรู้ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทยในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ. (ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทัต โพธินาม. (2562). การพัฒนาโปรแกรมการทำสมาธิเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์สำหรับผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรเทพ โสภาคำ. (2564). การสมาธิเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักบริหารกรณีศึกษาการทำสมาธิตามแนวทาง (สมเด็จพระญาณวชิโรดม). (หลักสูตรทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระเสริมพร แก้วมะ. (2560). ผลของการปฏิบัติสมาธิที่มีต่อบทบาทภาวะผู้นำกรณีศึกษา : ผู้เรียนหลักสูตรครูสมาธิ สถาบันพลังจิตตานุภาพ. (หลักสูตรผู้นำสังคม ธุรกิจ และการเมืองมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2557). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2), 136-145.

เพ็ญศรี ชิตสกุล. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำกับวุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา. (หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

วรรณพร ฮอฟมันน์. (2561). ศึกษาผลสัมฤทธิ์วิธีการสอนครูสมาธิ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของสถาบันพลังจิตตานุภาพวัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. (ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.