แนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบร่วมกับ กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม และจิตนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนที่เสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมและจิตนวัตกรรมของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับ
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการสอน โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบร่วมกับกรอบความคิดแบบเติบโต เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมและจิตนวัตกรรม กลุ่มเป้าหมาย คือครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คำถามใช้ในการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ด้านผู้เรียน พบว่า นักเรียนมีภาวะการเรียนรู้ที่ถดถอย มีปัญหาด้านทักษะวิทยาศาสตร์ ขาดความรู้พื้นฐาน ติดโทรศัพท์ขาดความมุ่งมั่นในการเรียน ขาดแรงจูงใจ ด้านสื่อเทคโนโลยี ขาดความพร้อมของสื่อนวัตกรรม และ
ด้านครูผู้สอน ขาดความพร้อมความเชี่ยวชาญในการใช้สื่อเทคโนโลยี ความต้องการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมและจิตนวัตกรรม คิดจากตัวอย่างฐานความรู้เดิมเพื่อสร้างสิ่งใหม่ เรียนรู้จากข้อมูลพื้นฐานต่อยอดเป็นนวัตกรรม ให้นักเรียนมีพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สร้างตัวอย่างที่หลากหลาย เชื่อมโยง
บูรณาการเรียนรู้จากหลักสูตร ใช้สื่อเทคโนโลยีสร้างชิ้นงาน และด้านจิตนวัตกรรม สร้างนิสัยไม่คัดลอกผลงาน สร้างองค์ความรู้ให้คิดเองตามความถนัด ความสนใจเกิดการตระหนักรู้ และสร้างแรงจูงใจ
2) แนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนมีดังนี้ ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ ตั้งคำถามด้วยวิธีการต่าง ๆ ส่งเสริมให้คิดแบบนอกกรอบ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โจทย์ปัญหาที่ท้าทาย เปิดโอกาสให้ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง จัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่ส่งเสริมการคิดอย่างอิสระ ยกตัวอย่างบุคคลและนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใช้กิจกรรมเสริมหลักสูตร พัฒนาต่อยอดสิ่งที่มีในท้องถิ่น การทำโครงการพัฒนาชุมชนลงพื้นที่ให้ได้ฝึกปฏิบัติการสร้างต้นแบบหรือผลงานสร้างสรรค์จริง สนับสนุนให้นักเรียนแสดงผลงานและรับฟังข้อคิดเห็น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
มานิตย์ อาษานอก. (2561). การบูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(1), 6-12.
วนิดา อุ่นเรือน. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลสำหรับนักศึกษาครู. (วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาวิทยาลัยนเรศวร). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2541). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์เพรส.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างจิตนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สรวงพร กุศลส่ง และ ฐิติโชติ กุศลส่ง. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงการโดยใช้ ICT เพื่อส่งเสริมความสามารถในการรู้คิดเชิงระบบสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 142-169.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). กรอบสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-3). กรุงเทพฯ: สกศ.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดทักษะแห่งอนาคตใหม่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Bellanca & R. Brandt. (2010). 21st Century skills: Rethinking how students learn. Victoria: Hawker Brownlow Education.
Brown, T. (2009). Change by Design. New York: Harper Collins.
Kwek. S.H. (2011). Innovation in the classroom: Design Thinking for 21st century Learning. Retrieved 3 May 2024, from https://web.stanford.edu/group/redlab/cgibin/materials/KwekInnovation%20In%20The%20Classroom.pdf
Michael Poh. (2019). 10 Good Habits to Develop an Innovative Mind. Retrieved 9 March 2024, from Hongkiat.com.
Wilma Koustaal, Jonathan T. Binks. (2015). Innovating Minds: Rethinking Creativity to Inspire Change. Oxford University.