แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์

Main Article Content

กันต์กมล ลียวัฒนานุพงศ์
อนุสรณ์ นามประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์ 2) ศึกษาองค์ประกอบและวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำ  เชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 
1) องค์ประกอบและวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลมี 4 องค์ประกอบ 4 วิธีการ 
2) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การเป็นผู้นำและมีวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยี สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การปฏิบัติทางวิชาชีพยุคดิจิทัล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การเป็นผู้นำและมีวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัล ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล การปฏิบัติทางวิชาชีพยุคดิจิทัลการสื่อสารเชิงดิจิทัล และการเป็นผู้นำและมีวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัล 
3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน 14 แนวทาง โดยภาพรวมของแนวทางทุกด้านมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ลียวัฒนานุพงศ์ ก., & นามประดิษฐ์ อ. (2024). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 11(2), 347–362. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/267214
บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ สุขแสน. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. (ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตดุษฎี). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

จิติมา วรรณศรี. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(10), 458-472.

เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทินกร บัวชู และทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร, 13(2), 285-294.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และ สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิชญ์พิมล สุนทะวงศ์. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภานุมาศ จันทร์ศรี. (2562). โมเดลการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เลอศักดิ์ ตามา และสุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2563). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(38), 224-240.

ศิริพงษ์ กลั่นไพฑูรย์. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2558. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565, จาก https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/518602

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565, จาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/52232

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.