การพัฒนาและยกระดับพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอการพัฒนาและยกระดับพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอแนวทางการพัฒนาและยกระดับพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดน่านประกอบด้วยการบริหารจัดการ การดำเนินงาน ในการเสริมสร้างการประกอบการและการท่องเที่ยวผ่านทุนทางศิลปวัฒนธรรม ซึ่งการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบทิศทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564) และการพัฒนาประเทศภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อให้ได้แนวทางในการวางแผนพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวและเกิดการกระจายรายได้ซึ่งเป็นส่วนสำคัญเพื่อให้น่านเป็นเมืองที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดี การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของ
ทุกภาคส่วนในสังคม ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของประชาชนสู่ความสมดุลในทุกมิติอย่างบูรณาการและเป็นองค์รวม เพื่อการสร้างรายได้และกระจายรายได้สู่ชุมชน ต้องมีการจัดการการท่องเที่ยวด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และมีการใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579). http://www.oic.go.th
กาญจนา แก้วเทพ. (2530). มรดกทางวัฒนธรรมและศาสนา : พลังสร้างสรรค์ในชุมชนชนบท. กรุงเทพฯ: สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.
ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข. (2550). เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
ณัฐนรี ศรีทอง. (2551). การเพิ่มศักยภาพภาวการณ์เป็นผู้นำในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
เพ็ญประภา ภัทรานุกรม. (2553). การพัฒนาทุนทางสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในชุมชนประสบภัยพิบัติสึนามิ กรณีศึกษาชุมชนในพื้นที่จังหวัดพังงา. วารสารร่มพฤกษ์, 28(2), 1-34.
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม. (2564). นโยบายและยุทธศาสตร์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (พ.ศ. 2560 – 2564). https://www.ocac.go.th
Janpetch, K. & Siriwong, P. (2017). The Integration of Cultural Capital into a Creative Tourist Attraction through Participatory Process : A Case Study of Ban Chak Ngaew Community, Banglamung District in Chonburi Province. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 10(1), 111–121.
Torpanyacharn, K, (2021). A Comparative Study of the Successors Rights of the Promotion and Preservation of Intangible Cultural Heritage Act B.E. 2559 and the Intangible Cultural Heritage Convention 2003. Naresuan University Law Journal, 14(1), 1–25.